ทำไมบางคนเห็นโอกาส แต่บางคนไม่
“ราคาไม่เกิน 30 บาท” เป็นโจทย์ที่ผมตั้งไว้ในใจ ตอนที่เดินดูสินค้าใน 7/11 ใกล้บ้าน จุดมุ่งหมายของภารกิจเช้านี้คือ เลือกสินค้าหนึ่งอย่างใน 7/11 ที่ราคาไม่เกิน 30 บาท แล้วเอากลับมาลองวิเคราะห์โอกาสในการนำไปขายบน Amazon
“ราคาไม่เกิน 30 บาท” เป็นโจทย์ที่ผมตั้งไว้ในใจ ตอนที่เดินดูสินค้าใน 7/11 ใกล้บ้าน จุดมุ่งหมายของภารกิจเช้านี้คือ เลือกสินค้าหนึ่งอย่างใน 7/11 ที่ราคาไม่เกิน 30 บาท แล้วเอากลับมาลองวิเคราะห์โอกาสในการนำไปขายบน Amazon
ความยากลำบากในการเปิด Seller Account กับ Amazon ทำให้ราคาของ account เปล่าๆ (ไม่มีสินค้า) ขยับตัวสุงขึ้น – บทความนี้ผมจะบอกข้อมูล และแจกแจงขั้นตอนการขาย Amazon seller account จากประสบการณ์ตรงอย่างละเอียดครับ
เราอาจจะจำแนกการส่งต่อ account ได้สองรูปแบบชัดเจน ดังนี้
เทียบง่ายๆ ระหว่างสองรูปแบบก็คือ แบบแรกเป็นห้องแถวเปล่าๆ ที่สร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ กับอีกแบบก็คือห้องแถวที่ขายพร้อมกิจการนั่นเอง
ในบทความนี้ผมจะพูดถึงเฉพาะ Amazon Seller Account แบบแรกเท่านั้น เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้มีส่งต่อ Account หนึ่งของผมไป และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการส่งต่อ เพื่อลดโอกาสและความเสี่ยงในการโดนโกง
การเปลี่ยนอีเมล์ใน Login Settings
จากประสบการณ์การส่งต่อของผมนั้น มีคนที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 3 คน
การซื้อขายจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ครับ
เมื่อตกลงราคากันได้ ก็ให้นัดวันและเวลากับคนซื้อ และเตรียมข้อมูลสำคัญที่ผมได้แจ้งไปเบื้องต้น
ขั้นตอนการสลับ Account เป็นดังนี้ครับ
ระยะเวลาในการสลับ Account (วัน D – Day) ถ้าคนขายเตรียมข้อมูลให้พร้อม ก็สามารถจบได้ในระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ จากประสบการณ์ที่ผมเจอในการแลกเปลี่ยน เนื่องจาก Account ที่ผมตัดสินใจขายไปนั้นมีอายุ 5 ปี และมี Feedback หลายพัน เลยตัดสินใจเรียกราคาสูง ทางผู้ซื้อตัดสินใจอยู่หลายวัน
ในขั้นตอนการยื่นหมูยื่นแมวจะสลับกันเสี้ยว นั่นคือ คนซื้อแสดงความจำนงโดยการโอนเงินให้คนขายก่อน ตรงนี้คุณจะหัวใจพองโต 555+ แต่เมื่อขั้นตอนต่างๆ เสร็จสิ้น และคุณรอการโอนอีกครึ่ง ตรงนี้ใจคุณจะหวิวๆ
ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจจะดำเนินการนะครับ หวังว่าจะมีโอกาสได้แชร์ประสบการณ์ขาย Account พร้อมธุรกิจในครั้งต่อไป 555+
หากคุณมีคำถามหรือตรงไหนไม่ชัดเจน เชิญพิมพ์ในช่องคอมเม้นท์ได้เลยนะครับ 😉
อย่าลืม !!! ถ้าคุณตัดสินใจขาย Amazon Seller Account แล้ว
ห้ามนำข้อมูลชุดเดิม (ที่เพิ่งขายไป) กลับมาสมัครใหม่อีก
จะทำให้เกิดปัญหาโดนแบนกันทั้งคู่นะครับ 😉
JS หรือ JungleScout เป็นโปรแกรมเก็บสถิติและช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าบน Amazon
ในคลิปวีดีโอนี้ ผมจะรีวิวการใช้งาน และให้เห็นความสามารถอื่นๆ ของตัวโปรแกรม ที่คุณอาจไม่เคยเห็น
น่าจะช่วยเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจครับ, หากมีคำถามหรือต้องการให้ผมรีวิว feature อะไรเพิ่มเติม พิมพ์ในช่องคอมเม้นด้านล่างได้เลยครับ
หลายปีที่แล้วผมเคยไปงงๆ สมัครขายของใน Amazon Japan ตอนนั้นยังต้องพึ่งพา agent ทั้งเรื่องการรับเงินและการติดต่อลูกค้า แต่ปัจจุบันสะดวกสบายขึ้นเยอะ
ล่าสุด Amazon ส่งอีเมล์มาแจ้งว่า ตอนนี้สามารถใช้งานหน้า Dashboard ร่วมกับ Amazon US ได้แล้ว
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ การจะขายใน Amazon JP หรือ Amazon UK (ที่หลายๆ คนได้รับอีเมล์เชิญ) คุณต้องทำการสมัคร Seller account ที่ประเทศนั้นๆ ก่อน จากนั้นถึงจะทำการ “เชื่อม” ต่อกับ Amazon US account ได้
เห็นหลายคนดีใจ คิดว่าอเมซอนเชิญให้ไปขาย UK ก็จะโดดไปเริ่มขายได้เลย ไม่ใช่นะ …คุณต้องเปิด account UK ให้ผ่านก่อน
Amazon เป็นตลาดออนไลน์เบอร์ต้นๆ ในญี่ปุ่น มีฐานลูกค้าไม่น้อยหน้า Yahoo Shopping เลย สินค้าจากไทยก็มีหลายตัวที่เราคุ้นหน้าคุ้นตา และเป็นที่ต้องการในตลาดญี่ปุ่น
สิ่งที่เป็นกำแพงและเป็นเกราะคุ้มกัน ก็คือ ภาษา นั่นเอง ถ้าใครมีตัวช่วยเรื่องนี้ ผมคิดว่าตลาดนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเลย
ก่อนจะเริ่มดาว์นโหลดไฟล์ ผมอยากให้ดูคลิปสั้นๆ ด้านล่างนี้ เพื่อเป็นไอเดียในการเอาข้อมูลไปปรับใช้งาน
ในคลิปตัวอย่างนี้ ผมเลือกสินค้าที่มีคนขาย แต่ไม่มีคนทำ FBA สินค้าเป็น best seller ในหมวดหมู่อะไรสักอย่าง (อ่านไม่ออก) แต่สามารถซื้อปลีกจาก yahoo jp มาทำกำไรได้
ในไฟล์จะมีข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น
น่าจะช่วยให้เห็นภาพการนำข้อมูลไปใช้งานนะครับ 😉
ความลับอยู่ตรงนี้…
เมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ผมยังมั่วๆ คลำทางไม่เจอ ผมก็ได้ข้อมูลตัวนี้แหล่ะที่เหมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ ต่างกันก็แค่ ตอนนั้นข้อมูลที่ผมได้มันคือฝั่ง Amazon US
สำหรับการขายของใน Amazon Japan ผมมีข้อสังเกตเล็กน้อย ที่อยากให้คนที่จะเริ่มทำความเข้าใจก่อนก็คือ
หวังว่าโพสนี้จะมีประโยชน์กับหลายๆ ท่านนะครับ 😉
เหตุที่ผมคิดว่า Brian Lee แกเป็นหนึ่งในคนที่เปลี่ยนวิธีคิดในเรื่องการขายของออนไลน์ด้วยเหตุผลบางประการ
(more…)FAQ Amazon Seller บทความที่ผมตั้งใจรวบรวมคำถามที่เพื่อนๆ ส่งมา และตอบในมุมมองของผม อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพื่อแบ่งปันประสบการณ์กับเพื่อนนักขาย Amazon ทุกท่านครับ
ตามความคิดเห็นของคุณเอก คิดว่าสินค้าประเภทไหนที่เราควรนำมาขายใน amazon คะ ของใช้ทั่วไป , แฟชั่น , สินค้า handmade, เครื่องครัว , ราคาโดยประมาณที่ขายออกง่าย อยู่ที่ range เท่าไร – เท่าไรคะ ? สินค้าผู้หญิง หรือ ผู้ชาย อะไรขายง่ายกว่ากันคะ
ถ้าเปรียบเทียบ Amazon เป็นบ่อปลา, เรากำลังอยู่ในบ่อน้ำที่มีปลามหาศาล การเริ่มต้นด้วยคำถามแบบนั้น ไม่ช่วยให้เจอสินค้าที่เรามีโอกาส
อย่างที่บอก บ่อนี้มีปลามหาศาล ดังนั้นแม้ว่า คุณจะขายในมุมเล็กๆ มันก็เยอะสำหรับเราอยู่ดี ลองนึกภาพตามนะครับ
สมมุติผู้ชายซื้อของออนไลน์ในไทย 1% เท่ากับ 7 ล้านคน
แต่ผู้ชายที่ซื้อในอเมซอน 1% อาจจะเท่ากับ 700 ล้านคน
ดังนั้น ชายหญิง หรือหมวดหมู่ไหน อาจไม่สำคัญเท่ากับ “คุณรู้มั้ยว่าสินค้านั้นมันขายได้เท่าไหร่, กำไรต่อชิ้นเท่าไหร่ คุณหาสินค้านั้นมาขายและสร้างความแตกต่างได้มั้ย”
หลายคนตั้งคำถามว่า ขายอีเบย์ หรือขายอเมซอนดีกว่ากัน ?
eBay ดีกว่า !!??
Amazon ดีกว่า !!??
คำตอบเหมาเข้งแบบนั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ
เพราะทั้งคนขายอีเบย์และอเมซอน มีคนที่ประสบความสำเร็จและล้มไม่เป็นท่า
มีคนขายอีเบย์ยอดขายหลักล้าน และหลักร้อย
เช่นเดียวกัน คนที่ขายของบนอเมซอนก็มีคนยอดขายหลักล้าน และหลักร้อย ไม่ต่างกัน
ตั้งโจทย์โดยเริ่มต้นจากตัวเราน่าจะดีกว่าครับ
เราถนัดตลาดไหน สินค้าไหนที่เราได้เปรียบ สินค้าอะไรที่เราสนใจเป็นพิเศษ เมื่อรู้แล้วค่อยไปดูว่า บนอเมซอนเขาขายกันยังไง
ราคาได้มั้ย ?
กำไรได้มั้ย ?
เราแข่งกับเขาได้มั้ย ?
นั่นคือ mindset หรือ แนวทางที่น่าจะใช้ในการหาสินค้ามาทำตลาด ครับ
การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ กำแพงแรกที่ต้องผ่านไปให้ได้คือ การพลักตัวเองให้เริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ไม่ต่างกับการ หัดขี่จักรยาน หรือหัดพูดภาษาอังกฤษ
นั่นคือ คุณต้อง take action
การเริ่มต้นขายของบน Amazon ก็เช่นกันครับ ถ้าให้ลำดับ (แบบคร่าวๆ) ก็น่าจะได้ประมาณนี้
ขั้นตอนที่ 1 กับ 2 คุณอาจจะสลับกันได้ ถ้ายังไม่อยากเสียเงินค่าสมัคร ก็อาจจะลองหยิบสินค้ามาวิเคราะห์ดูก่อน, เคล็ดลับนึงที่ผมอยากแนะนำก็คือ อย่าพยายามรู้ทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มต้น
หลายๆ เรื่องคุณต้องพาตัวเองเข้าไปสัมผัสกับมัน เจอปัญหา แก้ปัญหา แล้วก็แก้มันอีกรอบ ไม่มีคอร์สเรียน หรือบทความที่จะถ่ายทอดทุกอย่างได้หมดครับ ประสบการณ์และสิ่งที่คุณรับรู้จากสนามจริง จะเป็นครูที่ดีที่สุดของคุณ
ถ้าไม่มั่นใจ ลองหยิบสินค้าสักชิ้น แล้วบอกเหตุผลที่คุณเลือก ในมุมมองของคุณ โพสในคอมเม้นด้านล่างซิครับ เรามาแชร์ไอเดียกัน – ไม่มีผิดหรือถูก มีแค่จะลองทำมั้ย หรือปล่อยความสงสัยทิ้งไว้ในใจ
รบกวนสอบถามว่า สินค้าที่ไม่มีบาร์โค๊ดหรือไม่มีupc จะขายบนอเมซอนได้หรือไม่ หากขายได้ต้องกรอกข้อมูลลงระบบได้อย่างไรเพื่อให้ขายได้อย่างไม่ผิดระเบียบ (ขายแบบ FBA/Professional)
“การสร้างลิสสินค้า” บนอเมซอนจำเป็นต้องมีตัวเลขบอกที่มาของสินค้า เช่น upc, gs1 แบบใดก็ได้ แต่หากไม่ต้องการซื้อ เราสามารถขอสิทธิใช้ gtin จากอเมซอนได้ แต่การขอนั้นต้องมีการยื่นเอกสารเพิ่มเติมครับ
ผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับ UPC ไว้บ้าง ลองอ่านเพิ่มเติมเป็นแนวทาง
แล้วเราจะตั้งราคาขายยังไงค่ะ เพราะมันมีค่าส่งสินค้าด้วยค่ะ
การตั้งราคาจัดว่าเป็นกลยุทธ์อย่างนึงเหมือนกันนะครับ เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ
การขายของบน Amazon เราสามารถแยกค่าจัดส่ง กับค่าสินค้า หรือแบ่งคิดตามน้ำหนักได้ ผมต้องยอมรับว่า ส่วนตัวไม่ได้ตั้งค่าส่วนนี้นานมากแล้ว (เพราะใช้บริการ FBA มาตลอด) แต่ก็มีที่เขียนบทความไว้ ลองคลิกอ่านเพิ่มเติมครับ การตั้งค่าจัดส่งบน Amazon
สิ่งสำคัญ คือ ต้องไม่ลืมที่จะเรียนรู้จากคู่แข่งหรือเจ้าตลาดเดิมครับ เขาขายกันยังไง ตั้งราคาและนำเสนอแบบไหน บางเจ้าเอาค่าส่งรวมกับค่าของไปเลย บางคนคิดค่าส่งชิ้นแรก ชิ้นต่อไปฟรี หรือบางคนก็คิดต่อชิ้นตามจริงเลย
อย่างที่บอกครับ การตั้งราคา เป็นกลยุทธ์ในการขายอย่างหนึ่ง ไม่มีสูตรสำเร็จ มีแต่สูตรที่คุณสร้างขึ้นมา เพื่อดึงดูดลูกค้า
กลุ่มสินค้าย่านสำเพ็ง ตลาดนัดจตุจักร สนามหลวง 2 ร้านค้า 20 บาท พอได้ไหมครับ
ประเด็นนี้แยกเป็น 2 เรื่องนะครับ
ข้อแรก ขายได้ครับ ไม่มีข้อห้ามใดๆ จะร้าน 20 ในไทยหรือ 20 บาทจากจีน ได้หมด สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ ข้อสอง ควรขายมั้ย ?
เราจะรู้คำตอบนี้ได้ก็โดยการไป สำรวจสินค้าบน Amazon หรือเว็บ marketplace ที่คุณจะลองนำสินค้าไปขาย
สิ่งที่ต้องรู้หลังจากนั้นคือ รู้ keyword, รู้กำไร, รู้การแข่งขัน
คุณรู้มั้ยว่ามันขายได้ด้วย keyword อะไรบ้าง กว่าครึ่งของการซื้อขายบน marketplace (อย่าง Amazon, eBay, ETSY หรือไทยๆ อย่าง Lazada, Shopee) เกิดจากการ “search” หรือค้นหา ดังนั้น ถ้าเราไม่รู้ว่า ไอ้สินค้าที่เราจะขาย มันเกี่ยวข้องหรือขายได้จากคำประมาณไหน ก็เท่ากับคุณแค่ลองวัดดวง
ส่วนถัดมาคือ รู้กำไร ผมเขียน วิธีโดยละเอียดเกี่ยวกับการคำนวนราคาเพื่อใช้ตั้งราคาสินค้า และประเมินโอกาสในการขายไว้แล้ว ลองคิดประเมินจากตัวเลขดีกว่าเชื่อนิทานที่คนนั้นคนนี้ว่าครับ
เมื่อรู้แล้วว่าจะขายด้วยคำประมาณไหน รู้แล้วว่าถ้าขายแล้วเหลือกำไร ก็มาถึงขั้นที่ต้องประเมินว่า “เจ้าที่แรงรึเปล่า” หรือการประเมินคู่แข่งนั้นเอง ของจากร้าน 20 บาทที่ว่า มีคุณภาดสู้คู่แข่งที่ขายอยู่ได้มั้ย ? หรือ เราสร้างความแตกต่างให้มันได้มั้ย
ผมไม่คิดว่าคำตอบแบบเหมาว่าของจากร้าน 20 บาท, ของจาก 7/11, ของจาก Lotus Big C ควรหรือไม่ควรเอาไปขายบน Amazon จะเป็นคำตอบที่ดี แต่วิธีคิดและขั้นตอนเหล่านี้มากกว่าที่คุณจะนำไปใช้วิเคราะห์เบื้องต้นกับสินค้าจากแหล่งไหนก็ได้ครับ
หนูสงสัยว่า หนูต้องไปเปิดธนาคารกรุงเทพ เเล้วบัตรเดบิสต้องเป็นของอะไรคะ (UNION PAY) มันใช้ไม่ได้ ต้องหาตัวที่เก่ากว่าใช่ไหมคะ เเล้วถ้าไม่มีใช้บัตรอะไรได้บ้างคะ หนูยังไม่ได้ทำงานเลยไม่มีบัตรเครดิสคะขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ
การขายของบนอเมซอน (Amazon Seller) มีเรื่องเงินๆ อยู่ 2 ส่วนหลักๆ ครับ
1. รับเงิน ปัจจุบันมี 2 ช่องทางที่คนไทยสามารถใช้รับเงินจากการขายบน Amazon ได้ ก็คือ ผ่านระบบของ HyperWaller และอีกเจ้าก็คือ Payoneer ทั้ง 2 ระบบ เราจะต้องทำการเชื่อมกับธนาคารในไทย เจ้าไหนก็ได้
2. จ่ายเงิน ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น ถ้าไม่มี ของไทยพานิชมีบัตรเครดิตแบบกันวงเงิน (ถามรายละเอียดที่สาขาแบงค์ครับ) แย่สุดคือ บัตรเดบิต (ไม่แนะนำ) ถ้าจะใช้ลองดูของกสิกร เรียกว่า k-web shopping (ถามรายละเอียดที่สาขาแบงค์ครับ)
มันสร้างรายได้ ดีไหม ถ้าคิดเป็นแค่คนหาของในไทยมาขาย ไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือมีแบรนด์ของตัวเอง
มันสร้างรายได้จริงครับ จะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แน่นอนว่าทุกแนวทาง ทุกวิธีการมีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ และคนที่ล้มเหลว
เราส่วนมากก็เริ่มจากจุดเดียวกันทั้งนั้นครับ ผมก็ไม่ได้มีโรงงานหรือมีแบรนด์ติดตัวมา ก็เริ่มจากศูนย์เหมือนกับหลายๆ คน ค่อยๆ เลือกสินค้ามาขาย เริ่มสร้างแบรนด์ง่ายๆ ทำการตลาด ผมเชื่อว่า Amazon Seller ส่วนมาก ก็เริ่มต้นกันแบบนี้นะ คนที่มีโรงงานหรือมีแบรนด์อยู่แล้วอาจจะเป็นคนส่วนน้อยด้วยซ้ำ
รบกวนสอบถามค่ะ ถ้าเราอยากหาแบรนด์สินค้าของเราเอง เรามีวิธีเลือกสินค้าแบบไหนที่ให้สินค้าขายได้ค่ะ
ตอบแบบกระชับที่สุด สินค้าที่ลูกค้านึงถึงด้วย keyword กลางๆ ครับ เช่นไม้กวาด, กระถางต้นไม้, ที่ปั่นหู ฝรั่งเรียกว่า generic products
Keyword เหล่านี้บ่งบอกว่า สินค้ากลุ่มนี้ลูกค้าไม่ได้ตัดสินใจซื้อเพราะแบรนด์ เราสามารถนำมาสร้างแบรนด์ได้ อ่านเพิ่มครับ https://donottellmyboss.com/amazon-pl-way/
สำหรับไอเดียเริ่มต้นว่าจะหา Keyword เหล่านั้นได้จากไหน ง่ายที่สุดคือ ลองดูไอเดียจากสินค้าขายดีครับ น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ง่ายและเร็ว พอมองสินค้าออก เข้าใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ก็ค่อยลงลึกไปตามแต่ละหมวดหมู่ที่เราสนใจ
อยู่ออสเตรียค่ะ เรียนที่ลอนดอนแล้วแต่งงาน ย้ายมาออสเตรีย ต้นปีหน้าย้ายไปเยอรมัน กำลังเริ่มอ่านเริ่มหาข้อมูลว่าจะ ทำ ecommerce เพราะตอนนี้อยู่ที่ไหนก็สะดวก ที่สำคัญเรื่องภาษาไม่มีปัญหา ทั้งอังกฤษและเยอรมัน
แต่ปัญหาคือ ยังไม่ได้เริ่มสักที ที่นี่เจอว่า คนแถวนี้ใช้ amazon.de (เยอรมัน) ทุกอย่างเป็นภาษาเยอรมันหมด ดีตรงที่สั่งของวันสองวันก็ได้ของค่ะ แต่สินค้าจะมีน้อยกว่าใน amazon.com ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายที่อเมริกาใช่ไหม๊ค่ะ สั่งจากที่นี่ต้องรอมากกว่า เจ็ดถึงสิบวันค่ะ
ตลาด US จะกว้างกว่ารึป่าวค่ะ ที่นี่ในแถบยุโรปจะมีสี่สิบสี่ประเทศ แต่คนพูดเยอรมันมีไม่กี่ประเทศ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในแถบยุโรป
คำถามคือ ถ้า register จะทำที่ (.de) or (.com) ? ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ตั้งใจจะซื้อของจากไทย และจาก Alibaba สั่งมาสต๊อกที่บ้านที่เยอรมัน แล้วแพ็คขายเอง เพราะ
ลูกค้าแถบนี้จะรอของไม่นาน
ใช่ครับ .com จะเป็นเว็บที่ Amazon เน้นลูกค้าในยูเอส (แต่ผู้ขาย (Seller) ก็สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าทั่วโลกได้เช่นกัน กับฟังชั่น FBA Global Fulfillment)
การเลือกว่าจะขายที่ไหน ผมคิดว่าเอาที่สะดวกดีกว่า คำว่าเล็กกว่า อาจหมายถึงคู่แข่งที่น้อยกว่าและการเริ่มต้นที่ง่ายกว่าด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญคือ การเลือกและโฟกัสกับมันมากกว่าครับ การขายของบน Amazon นอกจากค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าธรรมเนียมและต้นทุนสินค้าแล้ว ยังมีส่วนอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือ ต้นทุนด้านการจัดการ, ต้นทุนด้านเวลาและต้นทุนในการเริ่มต้น
แน่นอนว่าตลาด Amazon ในเยอรมันย่อมมีขนาดที่เล็กกว่าใน US แต่ต้นทุนในการจัดการและการเริ่มต้นของคุณก็ต่ำกว่า เมื่อต้องนำเข้าสินค้า ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่น สินค้าติดด่านศุลกากร การเคลียร์สินค้าออกในเคสที่ตัวคุณอยู่อีกประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่ายและมีค่าใช้จ่ายครับ ไหนจะเรื่อง refund, return ของสินค้าอีก
เป็นเหตุให้ผมค่อนข้างจะเอียงไปทางด้านที่สะดวกกับเรามากกว่า แล้วเมื่อเรามีประสบการณ์และเข้าใจ flow การทำงานมากขึ้น จะขยับไปตลาดที่ใหญ่ขึ้น แข่งขันมากขึ้น ก็ยังไม่สาย จริงมั้ยครับ
รบกวนถามค่ะ ไม่ใช่บริษัท แต่อยากขายเครื่องประดับเงิน Sterling Silver มีแหล่งสินค้าแล้วค่ะ จะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ
สำหรับการขายเครื่องเงินใน Amazon ถ้าเป็นแต่ก่อน เราต้องทำการขอ approve เพื่อเข้าไปขายใน “หมวดหมู่” ดังกล่าวครับ
แต่ปัจจุบัน Amazon มีการปรับเปลี่ยน คือ คนที่ต้องการขายสินค้ากลุ่มนี้ โดยเฉพาะ Fine Jewelry จะต้องการทำส่งสินค้าไปตรวจใน lab ของอเมซอน และวางเงินค้ำประกัน 5,000 usd ก่อน
ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า สินค้ากลุ่ม Jewelry บน Amazon แบ่งออกเป็น 2 หมวดหมู่หลักๆ ได้แก่
ซึ่งก็อย่างที่บอกครับ สินค้ากลุ่มเครื่องเงินต้องส่งตรวจและวางเงินค้ำ นั่นคือการเริ่มต้นสำหรับการขายเครื่องเงินบน Amazon อย่างถูกต้อง (เน้นนะครับว่าอย่างถูกต้อง) เพราะมีหลายคนที่แอบขาย สร้างลิสผิดหมวดหมู่ หรือใช้คำเลี่ยง เพื่อให้อเมซอนตรวจจับไม่ได้
มีคำถามจะขอรบกวนสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ Global sources ครับ
1. Global source เป็นเว็บไซต์ที่เปิดรับ Supplier เฉพาะคนในประเทศจีนหรือไม่ครับ
2. ถ้าหากว่าผมต้องการที่เข้าไปเป็น Supplier ผมจะต้องผ่าน Agency ท่านใดไหม
3. ถ้าหากจะต้องผ่าน Agency ทาง Donottellmyboss พอจะสามารถแนะนำได้หรือไม่
ก่อนจะตอบคำถามนี้ต้องอธิบายลักษณะของเว็บ global sources ก่อนครับ
หลายคนอาจจะจับ GS เทียบกับ Alibaba แต่ทั้ง 2 เว็บนี้มีความแตกต่างกันอยู่ สำหรับ GS เป็นเว็บสัญชาติฮ่องกง โดยปัจจุบัน (เน้นว่าปัจจุบันนะครับ) มีบริการหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ งานอีเว้นที่จัดปีละครั้ง (ในช่วงเดือนเมษา) ผมเองมีโอกาสไปร่วมงานมาแล้ว ส่วนอีกบริการคือ Company Directiory ให้ Supplier จากที่ต่างๆ สามารถนำเสนอของตัวเองลิสลงไปได้
ตอบคำถามข้อแรก รับทุกชาติ คนไทยก็สามารถ list สินค้าเข้าระบบ GS ได้ครับ
2. ไม่จำเป็นต้องผ่าน agency ครับ สามารถทำได้เอง โดย GS มีบริการเสริมที่คล้ายๆ กับ Gold Supplier ของฝั่ง Alibaba เช่นกัน นั่นคือ “จ่ายเงินเพิ่มพลัง” เรียกว่า Verified Supplier ซึ่งเมื่อเราสมัครแบบฟรีแล้ว สามารถติดต่อกับทีมขายโดยตรงของ GS ได้เลย
ข้อดีของการสมัคร Verified Supplier กับ Global Sources ก็คือ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง และมองเห็นจากลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ตาม keyword และหมวดหมู่สินค้า
3. ไม่มีแนะนำครับ
สมัครผู้ขายไปแล้วคะ แต่ยังไม่ไปไหนเลยคะ ติด pesticide อยู่ไม่แน่ใจว่ายังขายอยู่ได้ ใช่ไม๊คะ แล้ว ตั้งใจจะเอาสินค้าเอา เข้า FBA คะ แต่ว่าตอนนี้เพิ่งทำ listing ได้ 1 รายการเองคะ
เพราะว่า UPC มีปัญหา ทาง GS1 กับ Amazon ยังไม่เคลียร์กันมั้งคะ เวลาที่เพิ่มสินค้า เข้าไป Add product จะขึ้นตรง Production id ว่า invalid ตลอดเลยทั้งๆ ที่ซื้อ แพคเกจ ไปแล้ว แต่ GS1 แจ้งว่า ลงทะเบียน UPC ถูกต้องทุกอย่าง จะแนบไฟล์ให้นะคะ แต่ทาง Amazon แจ้งว่า ยังไม่ลง Member portal เลยกลับไปที่ GS1 บอกว่าระะบยัง ไม่รองรับ UPC ส่วนของการลงรายละเอียดสินค้า ซึ่ง Amazon ต้องการส่วนนี้
แต่ตอนนี้ก็ได้ลงเรียบร้อยแล้วคะ แต่ยัง ขึ้น Product ID : invalid อยู่ เลยยังเพิ่มสินค้า ไม่ได้ คิดว่าจะส่งไป FBA พร้อมกัน 2 รายการ คะ เลยยังไม่ได้ส่งไป, ส่วนรายการแรก ยังไม่ได้แน่ใจว่า ถ้ายังไม่ส่งFBA จะต้องทำยังไงต่อให้ขายได้ไปก่ อนนะคะ ตอนนี้นิ่งไปเลยคะ พอจะมีอะไรแนะนำไม๊คะ
ปล.ตอนนี้เข้าedit แก้ไข listing ไมไ่ด้ด้วยคะ ติด pesticide คะ
แยกตอบเป็น 2 ส่วนนะครับ
สินค้าบาง ASIN เมื่อเราสร้าง Shipment สำหรับส่ง FBA จะเจอคำเตือน “Cannot be stickerless, commingled” และไม่สามารถสร้าง shipment ต่อจนจบได้
ปัญหาเกิดจากเรื่องของ SKU ที่เชื่อมต่อกับ ASIN นั้น ซึ่งวิธีแก้ไขที่ง่ายที่ง่ายที่สุดคือ เกาะสินค้าตัวเอง
ขั้นตอนก็คือ ไปที่หน้า inventory ติ้กเลือกสินค้าตัวที่ไม่สามารถสร้าง shipment ได้ แล้วใช้คำสั่ง add other condition เป็นการเพิ่ม sku ใหม่ใน asin เดิม หรือการเกาะสินค้าตัวเองนั่นแหล่ะ ดูจากคลิปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างครับ
ถ้าสินค้าบางตัว ไม่มีแบรนอะไร แต่ขาย ranking ดีพอสมควรเลยคับ เราเกาะ fba ดี หรือ ทำ list ใหม่ดีครับ เพราะ list เค้า rank + review ดีมาแล้ว ??
คุณคิดว่ายังไงครับส่วนตัวผมคิดว่า อาจจะทำทั้งสองทางคู่กันเลยก็ได้
ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับข้อดีของการเจอสินค้าลักษณะนี้แล้วเข้าไปเกาะคือ เราจะได้ cash flow และยิ่งถ้าเอาลิสนี้ทำโฆษณาด้วย ก็จะยิ่งได้ข้อมูลอีกเพียบ
(ทำได้นะ เพราะแม้ว่าลิสจะมีหลาย seller แต่โฆษณาจะโชว์เฉพาะตอนที่เราได้ buybox ดังนั้นโจทย์คือ ทำไงให้เราได้ buybox)
นอกจากความได้เปรียบด้านข้อมูลแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญคือ เราจะได้ cash flow ซึ่งเป้นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนที่เริ่มต้น
แต่ แต่ แต่
การเกาะก็เป็นการเปิดหน้าเล่น นั่นหมายความว่า คุณได้ทำการรำเรียกแขกแล้ว ในอนาคต เมื่อคุณสร้างลิสเอง แล้วมีคนมาเกาะก็พึงระลึกไว้ด้วย
ถ้าคุณเลือกที่จะเกาะ ระหว่างนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ วิเคราะหต่อครับว่า จะสร้างลิสใหม่ยังไงให้แตกต่าง จะปรับปรุงลิสใหม่ด้วยข้อมูลจากลิสที่เราเกาะยังไงดี
ปัญหามันเกิดเพราะ อีตอนขายได้ เราจะใช้เวลาเสวยสุขครับ หลายคนที่ต้องเลิกไป ทั้งที่แต่ก่อนขายได้เดือนนึงมหาศาล ก็เพราะตอนขายได้ไม่คิดจะต่อยอดจากสิ่งนั้น ไม่ขยับไปเล่น long game
แล้วถ้าเลือกที่จะไม่เกาะหล่ะ ??
สิ่งที่คุณทำได้ และทำง่ายกว่าแต่ก่อนคือ วิเคราะห์สินค้าแล้วเอา keyword มารวบรวมและ tracking เอาไว้ครับ (ไปดูคลิปต้นปีก็ได้)
พูดง่ายๆ ก็คือ เราแอบสะกดรอยลิสนั้นด้วยการ tracking keyword ดีๆ โดยไม่ต้องเกาะเขา แล้วเอาข้อมูลมาสร้างลิสเราเอง
ผมไม่เชิงว่าจะตั้งแง่กับการเกาะแต่ควรจะรู้ข้อดีข้อเสียของมันด้วยนะจ๊ะ 😉
ไม่บ่อยที่ Seller จะได้ยินหรือติดตามข่าวการอัพเดตกฏหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Amazon แล้วจะมีอารมณ์ในด้านบวก ปี 2018 นี้ Amazon มีการอัพเดตเกี่ยวกับ FBA fee สองครั้ง ทำเอา Seller ที่ไม่ปรับตัวหรือปรับไม่ทัน เลือดสาดไปตามๆ กัน แต่อัพเดตนี้ ผู้ขายที่ใช้บริการ FBA น่าจะแฮปปี้กัน ลองไปดูกันดีกว่าครับ มีการปรับเปลี่ยนในเรื่องไหนบ้าง
Amazon ส่งอีเมล์แจ้ง Seller ทุกคนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจและผมขอหยิบมาพูดถึงมี 2 เรื่อง
**ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นใน Amazon US นะครับ
อีกส่วนที่ผมไม่ได้พูดถึงคือupdate Fulfillment fees ที่จะเป็นการปรับในเรื่องการประเมินค่าใช้จ่ายมากกว่าการปรับลดหรือเพิ่ม คลิกอ่านรายละเอียด
สำหรับผู้ขายที่ใช้โปรแกรมช่วยงาน เช่น JS ก็น่าจะต้องรอ update กันอีกสักพักนะครับ เพราะเท่าที่ลองคิดดูคร่าวๆ การคิดคำนวนยังไม่ได้นำกฏใหม่มาใช้
ในฐานะ Seller อย่าลืมร่วมอนุโมทนาสาธุมา ณ ที่นี้ด้วยครับ 555+
เดือนนี้ผมมีโอกาสได้ทดลองอะไรหลายอย่าง ชวนให้นึกถึงตอนขายของออนไลน์ใหม่ๆ
ถ้าไม่เอาเงินเป็นตัวตั้ง ผมว่าตอนเริ่มนี่สนุกสุดนะ แต่ในความเป็นจริง มันก็หนีเรื่องเงินไม่พ้น (more…)
โลกออนไลน์ (จริงๆก็น่าจะรวมออฟไลน์ด้วยแหล่ะ) มีอยู่ 2 ทางหลักๆ ในการเริ่มต้น …แค่สองทางจริงๆ (more…)
ยอมรับว่าผมไม่เคยคิดเลยว่าการรบกันด้านเศรษฐกิจ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน จะมีผลกระทบกับ Amazon seller อย่างเรา ล่าสุดดูเค้าลางเริ่มชัดขึ้นล่ะ (more…)
แนวทางแบบ “ซื้อมาขายไป” น่าจะเป็นอะไรที่ง่ายและเริ่มต้นได้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการขายของออนไลน์ หรือขายออฟไลน์, จุดเด่นหรือข้อดีของแนวทางนี้คือ ง่าย, เริ่มต้นได้เร็ว แต่มันก็มีข้อเสียอยู่ไม่น้อย, ก่อนที่จะเริ่มต้น ผมแนะนำให้ดูคลิปสั้นๆ นี้ก่อนครับ แล้วลองนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณดู
ในไฟล์ excel นี้ ผมรวบรวมรายการสินค้า 300 รายการที่คุณสามารถเรียนรู้และช่วยให้การเริ่มต้นขายของบน Amazon ง่ายขึ้น
Amazon ส่งอีเมล์แจ้ง seller ถึงกฏระเบียบเกี่ยวกับ “รูปภาพ” ในเดือนกันยา (2018) นี้ ลิสที่รูปผิดระเบียบจะมีการ “แบนลิส” รายละเอียดอ่านได้จากบทความนี้ครับ (more…)
ผมเจออีบุคเล่มนึงที่เขียนจากข้อมูลที่ไปสำรวจสินค้า Top sell 3000 รายการ จาก 31 หมวดหมู่ เพื่อจะดูว่า listing เหล่านี้มีอะไรที่เราสามารถเรียนรู้และเอามาปรับใช้ได้จริงบ้าง
#ของโคตรดี แจกฟรีได้ไง !!??
**บทความนี้เขียนและเผยแพร่ในกลุ่ม AMZ ตั้งแต่ปี 2016 เนื้อหาบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันไปพอสมควร ทั้งเทคนิคและวิธีการ
วันก่อนมีเพื่อนในกลุ่ม AMZ 2.0 มาปรึกษา
เราไปนั่งคุยที่ร้านกาแฟ ใกล้คอนโดผม
ปัญหาของเธอคือ เพิ่งโดน Amazon แบนมา
โชคดียังมีอยู่บ้างที่ เพื่อนช่วยเปิด account ใหม่ได้
อยากเริ่มต้นใหม่อีกสักครั้ง กับการสร้างสินค้าของตัวเอง
ฝรั่งเรียกแนวทางการสร้างสินค้าลักษณะนี้ว่า “Private Label”
ผมเริ่มต้นด้วยคำถามว่า (more…)
ประสบการณ์ที่ผ่านมาบวกกับการบอกเล่าจากเพื่อนๆ นักขาย Amazon ที่โดนแบนล้มหายตายจากกันไป พอจะแยกสาเหตุของการโดน Amazon แบนได้เป็น 2 กรณีหลักๆ คือ โดนแบนเพราะ Performance ต่ำกว่าเกณฑ์ และอีกเหตุผลคือ โดนแบนเพราะสินค้าที่ขายไปละเมิดลิขสิทธิ์ ในโพสนี้เราจะพูดถึงประเด็น ลิขสิทธิ์ล้วนๆ ครับ (more…)
ระหว่างกลับเข้าเมือง (ยะโฮร์ บาห์รู -> สิงคโปร์) อ่านอีบุคเล่มนึง มีช่วงนึงน่าสนใจขอสรุปมาให้อ่านกัน (more…)
เมื่อคืนคุณปุ๊กส่งลิสอันนึงมาให้ดู
เป็นลิสที่ “sell your” ไม่ได้ – เรียกว่าเกาะไม่ได้นั่นเอง
โดยมันจะบอกให้เราต้องส่ง invoice (ตามรูป)
เพื่อขอสิทธิในการขายจากเจ้าของลิสมาก่อน (โอ้ว ใหญ่โตมาก) (more…)
**ปัจจุบัน Amazon Brand Registry เป็นเวอร์ชั่น 2 แล้ว มีการปรับข้อกำหนดและเอกสารที่จำเป็นต้องใช้มากขึ้น เช่น จำเป็นต้องยื่นจด Trademark ก่อน ถึงจะนำมาขอจด Brand Registry กับทางอเมซอนได้ (more…)