เมื่อพูดถึงแนวทางการหารายได้เสริม และสร้างธุรกิจส่วนตัวของคนไทยในยุคปัจจุบัน “การขายของออนไลน์” น่าจะติดอยู่ใน top 3 อย่างแน่นอน
Table of Contents
จะด้วยเหตุผลที่ว่า เข้าใจง่าย, จับต้องได้ บวกกับความคุ้นชิน แถมมีแหล่งความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้มากมายในโลกอินเตอรเนต
จะอ่านบทความ หรือดูเป็นคลิปวีดีโอผ่านยูทูป ก็ทำได้ไม่ยาก
ต้นทุนสำคัญที่คุณต้องมีก็คือ เวลา บวกกับความมุ่งมั่นตั้งใจ และการลงมือทำ
ตลาดขายสินค้าออนไลน์
สำหรับการขายของออนไลน์ ถ้าแบ่งตามกลุ่มลูกค้า น่าจะแบ่งได้เป็น 2 ช่องทางหลักๆ คือ
การขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศ
ช่องทางหลักๆ ก็น่าจะเป็น Social media ต่างๆ เช่น ขายผ่าน Facebook, IG หรือ ขายผ่านเว็บไซด์ของตัวเอง ไปจนถึงการขายสินค้าผ่านช่องทาง marketplace ยอดนิยมต่างๆ เช่น lazada, shopee และอื่นๆ อีกเพียบ
การขายสินค้าให้กับลูกค้านอกประเทศ
ช่องทางหลักๆ ของแนวทางนี้ได้แก่ การขายผ่านเว็บไซด์ตัวเอง และอีกช่องทางที่ได้รับความนิยมมากๆ คือ ขายสินค้าผ่าน marketplace ต่างๆ
การขายสินค้าผ่าน marketplace
สำหรับลูกค้าต่างประเทศนั้น จะว่าไปก็มีหลายแหล่งที่เราสามารถเข้านำสินค้าเข้าไปขายได้ โดยแต่ละที่ก็จะมีจุดเด่นจุดด้อย และกฏระเบียบที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับผู้ขายชาวไทยมี 2 marketplace ใหญ่ๆ ที่นักขายชาวไทยให้ความสนใจ และเข้าไปหาโอกาสกันมาก นั่นก็คือ eBay และ Amazon
(ยังมี marketplace ที่เฉพาะทางอีกเพียบ เช่น etsy, bonanza บลา บลา บลา)
2 marketplace เจ้าใหญ่ถ้านับรวมกันแล้วน่าจะมีฐานลูกค้าเกินครึ่ง หรืออาจมากกว่า 80% ของปริมาณคนที่ซื้อของออนไลน์ในโลกนี้
เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ทั้ง eBay และ Amazon ได้รับความนิยมในหมู่นักขาย
สำหรับ Amazon ดูจะเป็นน้องใหม่ที่มาแรง แซงหน้ารุ่นพี่อย่าง eBay ไปเป็นที่เรียบร้อย
ด้วยหลากหลายเหตุผลที่เอื้อให้ผู้ขายหน้าใหม่และหน้าเก่าสามารถสร้างรายได้อย่างเป็นระบบ
พร้อมด้วยเครื่องไม้เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกที่ออกแบบมาอย่างเข้าอกเข้าใจ seller
และนี่คือ 4 เหตุผลสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม การขายสินค้าบน Amazon
ฐานลูกค้ากับโอกาสที่เปิดกว้างมากที่สุด
ด้วยฐานลูกค้ากว่า 244ล้านคน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไม Amazon Marketplace ถึงได้เนื้อหอมมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
สิ่งที่ seller มือใหม่อย่างเราต้องทำก็คือ
ค้นหาความต้องการของลูกค้าให้เจอ และนำเสนอสินค้าให้น่าสนใจพร้อมกับราคาที่แข่งขันได้ ซึ่งเราจะว่ามากันแบบเจาะลึกในบทความต่อๆ ไป
เป็นที่รู้กันว่า ลูกค้าที่ค้นหาสินค้าบนเว็บ Amazon นั่นอยู่ในอารมณ์ warm ไปจนถึง hot customer
หมายความว่า พวกเขาเหล่านั้นอยู่ในโหมดที่พร้อมซื้อทันที ถ้าเจอสินค้าที่เข้าเงื่อนไขในการตัดสินใจ
ต่างจากลูกค้าที่ค้นหาผ่าน google มีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ในหมวดของการหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจเสียมากกว่า
เรียกว่า cold customer
ความน่าเชื่อถือ
Amazon เป็นแบรนดที่ลูกค้าให้ความเชื่อถือ และมั่นใจอยู่แล้ว
การนำเสนอสินค้าของเราผ่าน platform ของอเมซอนก็เหมือนการแชร์จุดเด่นตรงนี้ของ Amazon มาเป็นของเราด้วย
แน่นอนว่าทาง Amazon เองก็มีระเบียบกฏเกณท์ที่ใช้ควบคุม seller อย่างเรา
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปริมาณ seller เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ Amazon มีการเพิ่มและปรับเปลี่ยนกฏระเบียบอย่างมาก
ที่สุดก็เพื่อรักษาฐานลูกค้าและความน่าเชื่อถือของ platform นี้ไว้
มีระบบการจัดการที่ดี
ระบบที่ดีช่วยให้งานยากๆ ที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม เป็นเรื่องง่ายขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นความง่ายในการสร้างลิสสินค้า (Create listing) ไปจนถึงขั้นตอนหลังจากขายสินค้าได้
และที่ต้องแนะนำเลยก็คือ ระบบการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ที่เรียกว่า FBA (Fulfillment by Amazon) ที่ช่วยลดเวลาในการทำงาน
แถมยังช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้กับ seller มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ลองคิดดูครับว่า สินค้าคุณจะขายง่ายขึ้นแค่ไหน
ระหว่างใช้เวลาจัดส่งไม่เกิน 5 วัน ด้วยระบบ FBA กับการจัดส่งเองจากไทย (FBM) ที่ใช้เวลา 14-20 วัน
แต่ แต่ แต่ ความสะดวกสบายแบบนี้ก็แลกมาด้วยค่าธรรมเนียมที่ไม่ธรรมดาเช่นกัน ผู้ขายหน้าใหม่หลายคนก็มักจะพลาดตกม้าในเรื่องนี้
Amazon มาพร้อมเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับ marketing เรียกได้ว่าออกแบบมาเพื่อเปิดพื้นที่สำหรับทำการตลาดกันเต็มเหนี่ยว
ไม่ว่าจะเป็นระบบโฆษณาแบบ pay per click (เหมือนกับ adwords) และระบบการสร้าง promotion สำหรับดึงดูดลูกค้า
แถมด้วย report ที่ให้เราสามารถเช็คสถิติต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพและเพื่อยอดขายของเราได้อีกด้วย
นี่แหล่ะที่ผมคิดว่า Amazon ทำได้เหนือชั้นกว่ารุ่นพี่อย่าง eBay มาก
เหล่านี้คือเหตุผลหลักๆ ที่ผมไม่อยากให้เพื่อนๆ มองข้ามช่องทางการขายสินค้าบน Amazon
อาจจะเป็นอีกช่องทางในการกระจายสินค้าของคุณ หรือเป็นช่องทางหลักในการเริ่มต้นขายของออนไลน์ก็น่าสนใจไม่น้อย
Leave a Reply