amazon limit keyword

ไม่ใช่ทุกคำที่สำคัญ

เป็นข่าวลือมาสักพัก สำหรับประเด็น การจำกัด keyword ที่จะ index กับสินค้าบน amazon

วันนี้ทางอเมซอนได้อัพเดตอย่างเป็นทางการเรียบร้อย

โพสนี้จะขยายความและสรุปเพื่อให้เพื่อนนักขาย amazon ชาวไทย ได้ทำความเข้าใจกับการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ และนำไปปรับใช้กับ list สินค้าของคุณครับ

Amazon launched a feature that limits the length of the generic keywords attribute to less than 200 bytes in India, 500 bytes in Japan and 250 bytes in every other marketplace except China. The limits have been shown to improve the quality of search results. It applies to newly registered and existing ASINs.

การขายของบน amazon มี 2 ช่องทาง ที่นำพาลูกค้ามาเจอกับสินค้าของคุณบน amazon ;

  1. ค้นหาผ่าน keyword ในช่องค้นหา หรือค้นหาผ่านหมวดหมู่ (category)
  2. อเมซอนแนะนำ (Amazon Recommendation)
amazon customer journey

ในโฟสนี้เราจะคุยกันในประเด็น “ค้นหาสินค้าด้วย keyword (1.)

เนื้อหาในอัพเดตล่าสุดของอเมซอน ที่เกี่ยวข้องกับจำนวน keyword มีดังนี้;

Key Guidelines:

  • Keep content within the prescribed length limit (less than 250, 200 for India, 500 for Japan):
    • Length limit applies to total content in all generic keyword fields (a max. of 5 attributes).
    • Whole entry will be rejected upon exceeding limit.
    • Number of bytes equals number of characters for alphanumeric characters (e.g. a-z, 0-9) while other characters can be 2 bytes or more. Examples include ä (2 bytes), £ (2 bytes), € (3 bytes) or ❤ (3 bytes).
    • Spaces and punctuation (“;” “,”, “.”) do not contribute to the length limit, but words should be space-separated. Punctuation between words is unnecessary.
  • Optimizing keyword content for search discoverability:
    • Do not include keywords that are not descriptive of the product.
    • Do not include brand names (even your own) or other product identifiers.
    • Do not duplicate content present in other attributes, such as title and bullet points.
    • No need to repeat keywords; once is enough.
    • Use keywords that are synonyms, hypernyms or spelling variations of content in visible attributes (e.g. if product title is ‘whiskey’, use ‘whisky’ in generic keywords).

จาก amazon Headlines

ผมสรุปสั้นๆ ง่ายๆ ตามนี้ครับ นำไปรับใช้กับลิสสินค้าได้เลย

จากนี้ ในช่อง search term จะ index แค่ 250 ตัวอักษร (ใส่เกินได้นะ, เชิญ แต่ไม่นับ)
ตัวอักษรที่ใส่ a-z และ 0-9 นับเป็น 1 ตัวอักษร, สัญลักษณ์แปลกๆ นับมากกว่า 1 เช่น ใส่ ❤ นับเป็น 3 ตัวอักษร
ใส่ตัวพิมพ์เล็กหมด ใส่คำเอกพจน์พอ (banana พอ ไม่ต้อง bananas) ใส่ keyword ลงไปเลยไม่ต้องมีลูกน้ำคั่น (,) แค่เว้นวรรคหนึ่งครั้งพอ
คำที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องใส่ (a, an, the, yes, no, ok ไม่ต้องใส่ – ขอร้อง)
คำที่ซ้ำกับที่มีอยู่ใน title หรือ bullet point ไม่ต้องเอามาใส่
ถ้าช่องมันเหลือ ไม่รู้จะใส่อะไร ก็ปล่อยไว้ว่างๆ ไม่มีคะแนนสำหรับความพยายาม

  • จากนี้ ในช่อง search term จะ index แค่ 250 ตัวอักษร (ใส่เกินได้นะ, เชิญ แต่ไม่นับ)
  • ตัวอักษรที่ใส่ a-z และ 0-9 นับเป็น 1 ตัวอักษร, สัญลักษณ์แปลกๆ นับมากกว่า 1 เช่น ใส่ ❤ นับเป็น 3 ตัวอักษร
  • ใส่ตัวพิมพ์เล็กหมด ใส่คำเอกพจน์พอ (banana พอ ไม่ต้อง bananas) ใส่ keyword ลงไปเลยไม่ต้องมีลูกน้ำคั่น (,) แค่เว้นวรรคหนึ่งครั้งพอ
  • คำที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องใส่ (a, an, the, yes, no, ok ไม่ต้องใส่ – ขอร้อง)
  • คำที่ซ้ำกับที่มีอยู่ใน title หรือ bullet point ไม่ต้องเอามาใส่
  • ถ้าช่องมันเหลือ ไม่รู้จะใส่อะไร ก็ปล่อยไว้ว่างๆ ไม่มีคะแนนสำหรับความพยายาม

Search Term ใส่ได้นะ แต่เราไม่สน !!

ปัจจุบันอเมซอนจะให้เราใส่ keyword ในช่อง search term ได้ 5000 ตัวอักษร (แถวละ 1000 ตัวอักษร)

แต่ก็นั่นแหล่ะครับ ไม่ใช่ทุกตัวอักษรที่อเมซอนจะนับเข้าไปในลิสของเรา

amazon product search term

>>> ไม่ใช่ทุกตัวอักษรที่อเมซอนจะนับเข้าไปในลิสของเรา – ไม่เข้าใจ คืออะไร ? <<<

ผมยกตัวอย่างเปรียบเทียบง่ายๆ ให้เห็นภาพครับ

สมมุติว่าคุณขายกางเกงมวยไทยสีแดง (muay thai short red)

ถ้าค้นหาในช่องค้นหาบน amazon ด้วยคำว่า muay thai แล้วไม่เจอสินค้าของคุณ นี่แหล่ะครับ อเมซอนไม่นับสินค้าเข้าไป (non-index)

amazon product search result


ดังนั้น เมื่อค้นหาด้วยคำว่า muay thai หรือ short หรือ red ควรจะเจอสินค้าของคุณ !

ถ้าไม่เจอ… งานเข้าล่ะ, โอกาสในการขายก็ลดน้อยลงด้วยแน่นอน

วิธีตรวจสอบ Product Indexing

คุณสามารถตรวจเช็คง่ายๆ ว่า amazon ได้ทำการ index สินค้าของคุณ กับ keyword ไหนบ้าง ตามขั้นตอนนี้:

เอา ASIN ของสินค้า กับ keyword ที่ต้องการเช็ค ใส่ในช่องค้นหาบนอเมซอน แล้วดูว่า อเมซอนโชว์สินค้าเราขึ้นมารึเปล่า

ASIN + Keyword

ถ้าสินค้าตัวนั้น แสดงขึ้นมา หมายความว่าอเมซอนรู้จักสินค้าชิ้นนี้ของเรา ผ่าน keyword คำนี้

แต่ถ้าไม่เจอ นั่นก็หมายความว่า ระบบไม่พบความเกี่ยวข้องระหว่างสินค้าของคุณ กับ keyword ที่ค้นหา

เรียกสั้นๆ ด้วยศัพท์เทคนิคว่า “amazon ไม่ index keyword นั้นกับสินค้าเรา”

amazon product indexing
ทดลองดูว่า amazon ได้ index สินค้าเรากับ keyword คำว่า red รึเปล่า – จากผลลัพธ์แบบนี้ แสดงว่า amazon รับรู้ว่าสินค้าเราเกี่ยวข้องกับคำว่า red

จากนี้ การนำ keyword ไม่ว่าจากไหนมาใช้กับลิสสินค้าของเราบน amazon จากนี้ควรจะต้องใส่ใจมากขึ้น ทุกคำที่เรานำมาใส่  ไม่ใช่ว่าอเมซอนจะสนใจ

แต่อย่าเพิ่งร้อนใจไปครับ

เพราะอย่างที่ผมจั่วหัวว่า “ไม่ใช่ทุกคำที่สำคัญ”

คำที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือคำสร้อยต่างๆ ที่คนทั่วไปไม่นิยมใช้ค้นหา ถ้าระบบจะไม่ index ก็ไม่เป็นไร

จึงเป็นคำตอบ ของคำถามที่ว่า

“ในช่อง search term ยิ่งใส่เยอะ ยิ่งดีใช่มั้ย ?”

คำตอบคือ ไม่ใช่ครับ

เพราะนอกจากมันจะทำให้ ลิสสินค้าของคุณมี conversion ที่ต่ำลงแล้ว

(จำนวนลูกค้าที่เข้ามาดู / จำนวนออเดอร์) การ “ยัด” คำที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเข้าไป จะไปเบียดเบียนพื้นที่ของคำที่ “อาจจะ” สร้างยอดขายให้คุณด้วยซ้ำ

จากตัวอย่างที่ใช้โปรแกรม AKS ในการตรวจสอบ index จะเห็นว่า amazon ไม่ได้ index คำที่น่าจะมีผลกับยอดขาย คือคำว่า “washable” แต่ดันไป index คำทั่วๆไป อย่างเช่นคำว่า “the” ซึ่งไม่มีผลต่อยอดขายและการค้นหา

aks amazon keyword indexing
ใช้โปรแกรม AKS ช่วยในการไล่เช็ค keyword ให้กับสินค้า

สรุปสั้นๆ สำหรับการ update กฏใหม่ของอเมซอนในครั้งนี้ก็เพื่อ

ให้ seller คัดเฉพาะ keyword ที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าจริงๆ มาใช้ นั่นเอง


Update: Amazon Search Term – August 2018

Amazon ตัดช่อง Search term เหลือแถวเดียวแล้วครับ จากเดิมที่มีแถวเดียว แต่ seller สามารถกด add more เพื่อใส่เพิ่มได้

amazon search terms

สรุป

  • ช่อง search term ใส่ได้ 250 ตัวอักษร (ภาษาอังกฤษ)
  • ไม่ต้องใส่คำที่ซ้ำ ไม่ต้องใส่พหูพจน์
  • ใช้แค่เว้นวรรคระหว่างคำ ไม่ต้องใส่ลูกน้ำ