การติดตั้ง FeedbackGenius

ว่ากันด้วยเรื่องการตั้งค่าเบื้องต้นสำหรับการใช้งาน ข้อดีหนึ่งที่ทำให้บริการจาก FeedbackGenius

หนึ่งในข้อดีที่ผมอยากให้ได้ใช้บริการ FeedbackGenius เพราะว่าสามารถใช้งานได้ฟรี 100 อีเมล์ต่อเดือน สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นขายสินค้ากับอเมซอน ทางเลือกนี้น่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังช่วยเพิ่ม review และ feedback ได้อีกด้วย

เริ่มกันเลยครับ ให้ทุกท่านทำการสมัครใช้บริการ FeedbackGenius (ไม่ต้องห่วงครับ ถ้ายังไม่ใส่เลขบัตรเครดิตไม่เสียเงินแน่นอน)

ขั้นตอนแรก เป็นขอโค้ตเพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลระหว่าง Amazon Account ของเรา เรียกว่า MWS APIกับ FeedbackGenius

https://youtu.be/xhcNJ4NoMVU

เมื่อผ่านขั้นตอนของการกำหนดสิทธิการเชื่อมาต่อ MWS เรียบร้อย
ก็มาถึงขั้นตอนที่ 2 คือการเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น

  1. Log In เข้าระบบ Amazon Seller
  2. คลิกที่เมนู “Settings” > “User Permissions”
  3. ใส่อีเมล์ “[email protected][XXX คือตัวเลขที่ระบบกำหนดให้] ในช่อง Enter e-mail address of new user(s) จากนั้นคลิก “Send invitation”
  4. รอรับอีเมล์จากระบบ และนำ code ที่ได้กลับไปยืนยันใน “User Permissions” อีกครั้ง
  5. หลังจากยืนยันเรียบร้อยให้คลิก Edit ที่ [email protected] เพื่อ กำหนดสิทธิในการเข้าถึง account ของเรา
  6. จากนั้นให้ทำการตั้งค่าตามรูป (ปรับแก้แค่ 2 จุดเท่านั้น)

แล้วคลิก Continue เป็นอันเสร็จพิธีการเชื่อมต่อ account (การเชื่อมต่ออาจต้องใช้เวลา ระบบจะแจ้งให้ทราบ)


เมื่อเราได้ทำการเชื่อมต่อ account เรียบร้อย ต่อมาเป็นการตั้งค่า email ที่ต้องการให้ FeedbackGenius ส่งออกไปขอ review หรือ feedback ให้เราครับ

1. เข้าสู่ระบบของ FeedbackGenius จากนั้นไปที่เมนู Messages ที่หน้านี้จะให้คุณเพิ่มข้อความ เพื่อส่งหาลูกค้าได้

2. คลิกที่ลิงค์ Add message ที่ด้านขวามือ

3. ในส่วนของ Add message นี้ที่ tab แรกจะเป็นเรื่องของ Details ถ้าดูจากรูปด้านล่างนี้จะเป็นการตั้งค่าแบบ active หรือพร้อมให้ระบบทำงาน แต่ถ้ายังไม่ต้องการให้ระบบส่งอีเมล์หาลูกค้า ก็อาจจะเลือก inactive หรือ test เอาไว้ก่อน

4. tab ต่อมาจะเป็นส่วนของ content หรือเนื้อหาในอีเมล์ที่เราต้องการส่งหาลูกค้า ในส่วนนี้เราสามารถใช้ variables หรือค่าตัวแปร เพื่อให้ระบบดึงข้อมูลจากอเมซอนมา เช่น ใส่ [[first-name]] เมื่ออีเมล์นี้ถูกส่งหาลูกค้า มันจะแสดงชื่อจริงๆ ของลูกค้า หรือ [[product-name]] ก็เป็นการดึงชื่อสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อมาใช้

รายละเอียดของ variables สามารถอ่านและศึกษาเพิ่มได้จากที่นี่ครับ

และสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้และระมัดระวังมากๆ ก็คือ เงื่อนไขและข้อกำหนดของการใส่เนื้อหาของอีเมล์ (สำคัญมาก)
อย่างที่รู้ๆ กัน เบื้องต้นห้ามใส่ เว็บ, โปรโมชั่น, คำชวน, อีเมล์, เบอร์ติดต่อ ซึ่งมีเจตนาให้ลูกค้าออกไปซื้อสินค้านอกเว็บ amazon

ถ้าระบบจับได้ (ซึ่งจับได้แน่นอนเพราะทุกอีเมล์ที่ส่งหาลูกค้าจะต้องผ่านเข้าระบบของอเมซอนก่อนทุกอัน) สิ่งที่จะเกิดคงไม่ต้องบอกนะครับ…

อ่านรายละเอียด เงื่อนไขและข้อห้ามต่างๆ ในการติดต่อลูกค้าได้ที่นี่

5. ส่วนต่อมาก็คือ When ตรงนี้ให้เรากำหนดเงื่อนไขในการส่ง ตามความเหมาะสม (ระยะเวลาในการส่งขอ feedback ระหว่าง FBA และ FBM ต่างกัน)

6. Filters ตรงนี้จะเป็นส่วนที่จะช่วยให้เราสามารถเลือกเฉพาะเจาะจงได้ว่าจะส่งอีเมล์นี้ให้กับลูกค้า FBA หรือ FBM

7. tab สุดท้าย Attachments เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถแนบไฟล์รูปภาพหรือ pdf ไปกับอีเมล์ที่เราต้องการจะส่งหาลูกค้าได้ (เฉพาะลูกค้าที่ใช้บริการแบบรายเดือนเท่านั้น)

นี่ก็เป็นวิธีการตั้งค่าเบื้องต้น ให้เพื่อนๆ ลองไปปรับใช้ และทดลองเพื่อให้ช่วงเวลาและข้อความที่เหมาะสมกับสินค้าของท่านเอง, ถ้ามีข้อสงสัยหรือคำถาม ใส่ไว้ในช่อง comment ด้านล่างได้เลยครับ


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *