อ่านข่าวสาวฟิลิปปินส์วัย 21 ที่หาญกล้าออกจากงานมาขายของในอเมซอน เธอคนนี้ชื่อว่า Aileen Adalid เริ่มต้นเปิดร้านกับเพื่อนในอเมซอนยุโรป ตอนนี้สินค้าทั้งร้านมี … 1 ชิ้น !!! แต่ยอดขายที่เข้ามาในธุรกิจของเธอเดือนละกว่า 70,000 us (ในปี 2014)
ผมลองเข้าไปสืบดูและพยายามเรียนรู้วิธีคิดและวิธีการต่างๆ ของแบรนด์ AdalidGearเข้าใจว่าเธอใช้ amazon เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อเทสไอเดียสินค้า (Product Validate) และทดสอบความเป็นไปได้ในตลาดมากกว่า
เมื่อได้ข้อมูลจนมั่นใจแล้วว่าจะขายอะไรดี ก็เริ่มต้นวางรากฐานด้วยการขายผ่านเว็บของตัวเอง, ตอนนี้ยอดน่าจะไปไกลว่าเมื่อสองปีที่แล้วมาก
เมื่อสินค้าและงาน operation ลงตัว เธอก็มีเวลา และใช้มันไปกับความชอบส่วนตัว นั่นก็คือการท่องเที่ยว
นี่แหล่ะครับ นิยามของ ขายอเมซอนสายชิล 😉
ผมย้ำเสมอว่าในกลุ่ม AMZ commerce ว่า ใครจะขายแนวไหน มันสำเร็จได้ทั้งนั้น
เพียงแต่คุณต้องรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร…
ส่วนตัวผมเชื่อมั่นในแนวทางนี้ บางทีมันอาจเป็นกฏแรงดึงดูดก็ได้ ที่ข่าวหรือแรงบันดาลใจแบบนี้ก็มักจะผ่านเข้าใจอยู่เสมอ
ใครใคร่ขาย 100,000 sku ขาย
ใครใคร่ขาย 1 sku ขาย
ใครจะสาย Drop ก็ขาย
ทุกแนวทางมีต้นแบบ มีวิธีคิด และวิธีการในแบบของมัน
หาต้นแบบ หาแรงบันดาลใจในแนวทางนั้นๆ ให้เจอ แล้วแกะรอยความสำเร็จนั้น
วันนี้พักเดินนั่งละเลียดกาแฟในร้านเล็กๆ ชานกรุงโซล พร้อมกับดูลิสสินค้าบนอเมซอน
เจอเคสนึงน่าสนใจมาก และมันอาจสะท้อน หรือขยายความประโยคที่ว่า “คุณต้องรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร…“
ลิสนี้ขายดีใช้ได้ BSR อยู่ที่ #9000 เฉลี่ยขายได้วันละ 10 ออเดอร์ แต่ทุกออเดอร์ ผู้ขายจะต้องควักเงินให้อเมซอนเพิ่มอีก 1.46us !!??
เพราะราคาที่ตั้งไว้ต่ำมาก ไม่พอค่าธรรมเนียม (Amazon Fee)
หลายคนถามว่า คนที่มันขายถูกๆ เนี่ยเพราะอะไร ??
ส่วนตัวผมคิดว่ามี 2 ประเภท
- ทำโดยรู้ตัว
- ทำไปโดยไม่รู้ตัว
เคสที่ทำไปโดยไม่รู้ตัวนี่อันตรายนะครับ
มียอดขาย แต่เข้าเนื้อทุกวันๆ ถ้าเกิดสะดุดขึ้นมาก็จบข่าว
เคยได้ยินมั้ยครับ “กระแสเงินสด” คือเส้นเลือดใหญ่ในการทำธุรกิจ
จะหยุดก็หยุดไม่ได้ ขายต่อไปก็เข้าเนื้อ
เพียงแต่คุณต้องรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร…
ผมเขียนรายละเอียดการคำนวนต้นทุนการขายสินค้าบนอเมซอนไว้อย่างละเอียด แนะนำให้ลองอ่านและนำไปปรับใช้กับสินค้าของคุณครับ
p.s. ร้านของ Aileen
p.s.s. เครื่องมือที่ผมใช้ในการวิเคราะห์สินค้า
– JS