[FAQ Amazon] รวบรวมคำถามคาใจคนขาย Amazon

FAQ Amazon Seller พื้นที่รวบรวมคำถามที่เพื่อนๆ ส่งมา และตอบในมุมมองของผม เป็นการแชร์ไอเดียและแบ่งปันประสบการณ์กันครับ


ขายอะไรดี

ตามความคิดเห็นของคุณเอก คิดว่าสินค้าประเภทไหนที่เราควรนำมาขายใน amazon คะ ของใช้ทั่วไป , แฟชั่น , สินค้า handmade, เครื่องครัว , ราคาโดยประมาณที่ขายออกง่าย อยู่ที่ range เท่าไร – เท่าไรคะ ? สินค้าผู้หญิง หรือ ผู้ชาย อะไรขายง่ายกว่ากันคะ 

ถ้าเปรียบเทียบ Amazon เป็นบ่อปลา, เรากำลังอยู่ในบ่อน้ำที่มีปลามหาศาล การเริ่มต้นด้วยคำถามแบบนั้น ไม่ช่วยให้เจอสินค้าที่เรามีโอกาส

อย่างที่บอก บ่อนี้มีปลามหาศาล ดังนั้นแม้ว่า คุณจะขายในมุมเล็กๆ มันก็เยอะสำหรับเราอยู่ดี ลองนึกภาพตามนะครับ

สมมุติผู้ชายซื้อของออนไลน์ในไทย 1% เท่ากับ 7 ล้านคน
แต่ผู้ชายที่ซื้อในอเมซอน 1% อาจจะเท่ากับ 700 ล้านคน

ดังนั้น ชายหญิง หรือหมวดหมู่ไหน อาจไม่สำคัญเท่ากับ

“คุณรู้มั้ยว่าสินค้านั้นมันขายได้เท่าไหร่, กำไรต่อชิ้นเท่าไหร่ คุณหาสินค้านั้นมาขายและสร้างความแตกต่างได้มั้ย”

หลายคนตั้งคำถามว่า ขายอีเบย์ หรือขายอเมซอนดีกว่ากัน ?

eBay ดีกว่า !!??
Amazon ดีกว่า !!??
คำตอบเหมาเข้งแบบนั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ

เพราะทั้งคนขายอีเบย์และอเมซอน มีคนที่ประสบความสำเร็จและล้มไม่เป็นท่า

มีคนขายอีเบย์ยอดขายหลักล้าน และหลักร้อย

เช่นเดียวกัน คนที่ขายของบนอเมซอนก็มีคนยอดขายหลักล้าน และหลักร้อย ไม่ต่างกัน

ตั้งโจทย์โดยเริ่มต้นจากตัวเราน่าจะดีกว่าครับ

เราถนัดตลาดไหน สินค้าไหนที่เราได้เปรียบ สินค้าอะไรที่เราสนใจเป็นพิเศษ เมื่อรู้แล้วค่อยไปดูว่า บนอเมซอนเขาขายกันยังไง

ราคาได้มั้ย ?
กำไรได้มั้ย ?
เราแข่งกับเขาได้มั้ย ?

นั่นคือ mindset หรือ แนวทางที่น่าจะใช้ในการหาสินค้ามาทำตลาด ครับ

เริ่มต้นยังไงดี

การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ กำแพงแรกที่ต้องผ่านไปให้ได้คือ การพลักตัวเองให้เริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง

ไม่ต่างกับการ หัดขี่จักรยาน หรือหัดพูดภาษาอังกฤษ

นั่นคือ คุณจำเป็นต้อง take action

การเริ่มต้นขายของบน Amazon ก็เช่นกันครับ

ถ้าให้ลำดับ (แบบคร่าวๆ) ก็น่าจะได้ประมาณนี้

  1. สมัคร Amazon Seller account อ่าน สิ่งที่ต้องพร้อมก่อนสมัคร Amazon Seller
  2. เริ่มต้นวิเคราะห์สินค้า ถ้าบันทึกใส่สมุดหรือ excel ด้วยจะยิ่งดีมาก อะไรน่าขาย ทำไมมันถึงน่าขาย อ่าน วิเคราะห์สินค้าขายดี
  3. เริ่มต้นสร้างลิสสินค้า (Create Products listing) อ่าน วิธีการสร้างลิสสินค้าใหม่บน Amazon

ขั้นตอนที่ 1 กับ 2 คุณอาจจะสลับกันได้

ถ้ายังไม่อยากเสียเงินค่าสมัคร ก็อาจจะลองหยิบสินค้ามาวิเคราะห์ดูก่อน,

เคล็ดลับนึงที่ผมอยากแนะนำก็คือ อย่าพยายามรู้ทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มต้น

หลายๆ เรื่องคุณต้องพาตัวเองเข้าไปสัมผัสกับมัน เจอปัญหา แก้ปัญหา แล้วก็แก้มันอีกรอบ ไม่มีคอร์สเรียน หรือบทความที่จะถ่ายทอดทุกอย่างได้หมดครับ

ประสบการณ์และสิ่งที่คุณรับรู้จากสนามจริง จะเป็นครูที่ดีที่สุดของคุณ

ถ้าไม่มั่นใจ ลองหยิบสินค้าสักชิ้น แล้วบอกเหตุผลที่คุณเลือก ในมุมมองของคุณ

โพสในคอมเม้นด้านล่างซิครับ เรามาแชร์ไอเดียกัน

ไม่มีผิดหรือถูก มีแค่จะลองทำมั้ย หรือปล่อยความสงสัยทิ้งไว้ในใจ

บาร์โค๊ด กับการขายสินค้าบน Amazon

รบกวนสอบถามว่า สินค้าที่ไม่มีบาร์โค๊ดหรือไม่มีupc จะขายบนอเมซอนได้หรือไม่ หากขายได้ต้องกรอกข้อมูลลงระบบได้อย่างไรเพื่อให้ขายได้อย่างไม่ผิดระเบียบ (ขายแบบ FBA/Professional)

การสร้างลิสสินค้า” บนอเมซอนจำเป็นต้องมีตัวเลขบอกที่มาของสินค้า เช่น upc, gs1 แบบใดก็ได้

แต่หากไม่ต้องการซื้อ เราสามารถขอสิทธิใช้ gtin จากอเมซอนได้

แต่การขอนั้นต้องมีการยื่นเอกสารเพิ่มเติมครับ

ผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับ UPC ไว้บ้าง ลองอ่านเพิ่มเติมเป็นแนวทางครับ

ขายของบน Amazon ตั้งราคายังไงดี ?

แล้วเราจะตั้งราคาขายยังไงค่ะ เพราะมันมีค่าส่งสินค้าด้วยค่ะ

การตั้งราคาจัดว่าเป็นกลยุทธ์อย่างนึงเหมือนกันนะครับ เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ

การขายของบน Amazon เราสามารถแยกค่าจัดส่ง กับค่าสินค้า หรือแบ่งคิดตามน้ำหนักได้

ผมต้องยอมรับว่า ส่วนตัวไม่ได้ตั้งค่าส่วนนี้นานมากแล้ว (เพราะใช้บริการ FBA มาตลอด) แต่ก็มีที่เขียนบทความไว้

ลองคลิกอ่านเพิ่มเติมครับ การตั้งค่าจัดส่งบน Amazon

สิ่งสำคัญ คือ ต้องไม่ลืมที่จะเรียนรู้จากคู่แข่งหรือเจ้าตลาดเดิมครับ เขาขายกันยังไง ตั้งราคาและนำเสนอแบบไหน

บางเจ้าเอาค่าส่งรวมกับค่าของไปเลย

บางคนคิดค่าส่งชิ้นแรก ชิ้นต่อไปฟรี

หรือบางคนก็คิดต่อชิ้นตามจริงเลย

อย่างที่บอกครับ การตั้งราคา เป็นกลยุทธ์ในการขายอย่างหนึ่ง ไม่มีสูตรสำเร็จ มีแต่สูตรที่คุณสร้างขึ้นมา เพื่อดึงดูดลูกค้า

ขายของจากร้าน 20 บาทบน Amazon ดีมั้ย ?

กลุ่มสินค้าย่านสำเพ็ง ตลาดนัดจตุจักร สนามหลวง 2 ร้านค้า 20 บาท พอได้ไหมครับ

ประเด็นนี้แยกเป็น 2 เรื่องนะครับ

  1. ขายได้มั้ย ?
  2. ควรขายมั้ย ?

ข้อแรก ขายได้ครับ ไม่มีข้อห้ามใดๆ จะร้าน 20 ในไทยหรือ 20 บาทจากจีน ได้หมด สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ ข้อสอง ควรขายมั้ย ?

เราจะรู้คำตอบนี้ได้ก็โดยการไป สำรวจสินค้าบน Amazon หรือเว็บ marketplace ที่คุณจะลองนำสินค้าไปขาย

สิ่งที่ต้องรู้หลังจากนั้นคือ รู้ keyword, รู้กำไร, รู้การแข่งขัน

คุณรู้มั้ยว่ามันขายได้ด้วย keyword อะไรบ้าง

กว่าครึ่งของการซื้อขายบน marketplace (อย่าง Amazon, eBay, ETSY หรือไทยๆ อย่าง Lazada, Shopee) เกิดจากการ “search” หรือค้นหา

ดังนั้น ถ้าเราไม่รู้ว่า ไอ้สินค้าที่เราจะขาย มันเกี่ยวข้องหรือขายได้จากคำประมาณไหน ก็เท่ากับคุณแค่ลองวัดดวง

ส่วนถัดมาคือ รู้กำไร ผมเขียน วิธีโดยละเอียดเกี่ยวกับการคำนวนราคาเพื่อใช้ตั้งราคาสินค้า และประเมินโอกาสในการขายไว้แล้ว

ลองคิดประเมินจากตัวเลขดีกว่าเชื่อนิทานที่คนนั้นคนนี้ว่าครับ

เมื่อรู้แล้วว่าจะขายด้วยคำประมาณไหน รู้แล้วว่าถ้าขายแล้วเหลือกำไร ก็มาถึงขั้นที่ต้องประเมินว่า “เจ้าที่แรงรึเปล่า” หรือการประเมินคู่แข่งนั้นเอง

ของจากร้าน 20 บาทที่ว่า มีคุณภาดสู้คู่แข่งที่ขายอยู่ได้มั้ย ?

หรือ เราสร้างความแตกต่างให้มันได้มั้ย

ผมไม่คิดว่าคำตอบแบบเหมาว่าของจากร้าน 20 บาท, ของจาก 7/11, ของจาก Lotus Big C ควรหรือไม่ควรเอาไปขายบน Amazon จะเป็นคำตอบที่ดี

แต่วิธีคิดและขั้นตอนเหล่านี้มากกว่าที่คุณจะนำไปใช้วิเคราะห์เบื้องต้นกับสินค้าจากแหล่งไหนก็ได้ครับ

บัตรเครดิตไม่มี สมัคร Amazon ได้มั้ย ?

หนูสงสัยว่า หนูต้องไปเปิดธนาคารกรุงเทพ เเล้วบัตรเดบิสต้องเป็นของอะไรคะ (UNION PAY) มันใช้ไม่ได้ ต้องหาตัวที่เก่ากว่าใช่ไหมคะ เเล้วถ้าไม่มีใช้บัตรอะไรได้บ้างคะ หนูยังไม่ได้ทำงานเลยไม่มีบัตรเครดิสคะขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ

การขายของบนอเมซอน (Amazon Seller) มีเรื่องเงินๆ อยู่ 2 ส่วนหลักๆ ครับ

1. รับเงิน ปัจจุบันมี 2 ช่องทางที่คนไทยสามารถใช้รับเงินจากการขายบน Amazon ได้ ก็คือ ผ่านระบบของ HyperWaller และอีกเจ้าก็คือ Payoneer ทั้ง 2 ระบบ เราจะต้องทำการเชื่อมกับธนาคารในไทย เจ้าไหนก็ได้

2. จ่ายเงิน ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น ถ้าไม่มี ของไทยพานิชมีบัตรเครดิตแบบกันวงเงิน (ถามรายละเอียดที่สาขาแบงค์ครับ) แย่สุดคือ บัตรเดบิต (ไม่แนะนำ) ถ้าจะใช้ลองดูของกสิกร เรียกว่า k-web shopping (ถามรายละเอียดที่สาขาแบงค์ครับ)

https://www.facebook.com/donottellmyboss/photos/a.244637515673956/1102084053262627/

ไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือมีแบรนด์ของตัวเอง ทำ Amazon ได้มั้ย ?

มันสร้างรายได้ ดีไหม ถ้าคิดเป็นแค่คนหาของในไทยมาขาย ไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือมีแบรนด์ของตัวเอง

มันสร้างรายได้จริงครับ จะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แน่นอนว่าทุกแนวทาง ทุกวิธีการมีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ และคนที่ล้มเหลว

https://www.facebook.com/donottellmyboss/posts/950102125127488

เราส่วนมากก็เริ่มจากจุดเดียวกันทั้งนั้นครับ ผมก็ไม่ได้มีโรงงานหรือมีแบรนด์ติดตัวมา ก็เริ่มจากศูนย์เหมือนกับหลายๆ คน

ค่อยๆ เลือกสินค้ามาขาย เริ่มสร้างแบรนด์ง่ายๆ ทำการตลาด ผมเชื่อว่า Amazon Seller ส่วนมาก ก็เริ่มต้นกันแบบนี้นะ

คนที่มีโรงงานหรือมีแบรนด์อยู่แล้วอาจจะเป็นคนส่วนน้อยด้วยซ้ำ

https://www.facebook.com/donottellmyboss/posts/571991636271874

เลือกสินค้าแบบไหนที่ให้สินค้าขายได้บน Amazon ?

รบกวนสอบถามค่ะ ถ้าเราอยากหาแบรนด์สินค้าของเราเอง เรามีวิธีเลือกสินค้าแบบไหนที่ให้สินค้าขายได้ค่ะ

ตอบแบบกระชับที่สุด สินค้าที่ลูกค้านึงถึงด้วย keyword กลางๆ ครับ เช่นไม้กวาด, กระถางต้นไม้, ที่ปั่นหู ฝรั่งเรียกว่า generic products

import from alibaba
ส่งตรงจากโรงงานในจีน ไม่ถูกนะ แต่ได้เรียนรู้ไปในตัว

Keyword เหล่านี้บ่งบอกว่า สินค้ากลุ่มนี้ลูกค้าไม่ได้ตัดสินใจซื้อเพราะแบรนด์ เราสามารถนำมาสร้างแบรนด์ได้

อ่านเพิ่มครับ https://www.donottellmyboss.com/amazon-pl-way/

สำหรับไอเดียเริ่มต้นว่าจะหา Keyword เหล่านั้นได้จากไหน ง่ายที่สุดคือ ลองดูไอเดียจากสินค้าขายดีครับ

น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ง่ายและเร็ว พอมองสินค้าออก

เข้าใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ก็ค่อยลงลึกไปตามแต่ละหมวดหมู่ที่เราสนใจ

เลือกระหว่างขายใน Amazon เยอรมัน หรือ อเมริกา ดี ?

อยู่ออสเตรียค่ะ เรียนที่ลอนดอนแล้วแต่งงาน ย้ายมาออสเตรีย ต้นปีหน้าย้ายไปเยอรมัน กำลังเริ่มอ่านเริ่มหาข้อมูลว่าจะ ทำ ecommerce เพราะตอนนี้อยู่ที่ไหนก็สะดวก ที่สำคัญเรื่องภาษาไม่มีปัญหา ทั้งอังกฤษและเยอรมัน

แต่ปัญหาคือ ยังไม่ได้เริ่มสักที ที่นี่เจอว่า คนแถวนี้ใช้ amazon.de (เยอรมัน) ทุกอย่างเป็นภาษาเยอรมันหมด ดีตรงที่สั่งของวันสองวันก็ได้ของค่ะ แต่สินค้าจะมีน้อยกว่าใน amazon.com ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายที่อเมริกาใช่ไหม๊ค่ะ สั่งจากที่นี่ต้องรอมากกว่า เจ็ดถึงสิบวันค่ะ

ตลาด US จะกว้างกว่ารึป่าวค่ะ ที่นี่ในแถบยุโรปจะมีสี่สิบสี่ประเทศ แต่คนพูดเยอรมันมีไม่กี่ประเทศ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในแถบยุโรป

คำถามคือ ถ้า register จะทำที่ (.de) or (.com) ? ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ตั้งใจจะซื้อของจากไทย และจาก Alibaba สั่งมาสต๊อกที่บ้านที่เยอรมัน แล้วแพ็คขายเอง เพราะ
ลูกค้าแถบนี้จะรอของไม่นาน 

ใช่ครับ .com จะเป็นเว็บที่ Amazon เน้นลูกค้าในยูเอส (แต่ผู้ขาย (Seller) ก็สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าทั่วโลกได้เช่นกัน กับฟังชั่น FBA Global Fulfillment)

การเลือกว่าจะขายที่ไหน ผมคิดว่าเอาที่สะดวกดีกว่า

คำว่าเล็กกว่า อาจหมายถึงคู่แข่งที่น้อยกว่าและการเริ่มต้นที่ง่ายกว่าด้วยเช่นกัน

สิ่งสำคัญคือ การเลือกและโฟกัสกับมันมากกว่าครับ

การขายของบน Amazon นอกจากค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าธรรมเนียมและต้นทุนสินค้าแล้ว

ยังมีส่วนอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือ ต้นทุนด้านการจัดการ, ต้นทุนด้านเวลาและต้นทุนในการเริ่มต้น

แน่นอนว่าตลาด Amazon ในเยอรมันย่อมมีขนาดที่เล็กกว่าใน US แต่ต้นทุนในการจัดการและการเริ่มต้นของคุณก็ต่ำกว่า

เมื่อต้องนำเข้าสินค้า ถ้าเกิดเหตุการณ์ เช่น สินค้าติดด่านศุลกากร การเคลียร์สินค้าออกในเคสที่ตัวคุณอยู่อีกประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่ายและมีค่าใช้จ่ายครับ ไหนจะเรื่อง refund, return ของสินค้าอีก

เป็นเหตุให้ผมค่อนข้างจะเอียงไปทางด้านที่สะดวกกับเรามากกว่า

แล้วเมื่อเรามีประสบการณ์และเข้าใจ flow การทำงานมากขึ้น จะขยับไปตลาดที่ใหญ่ขึ้น แข่งขันมากขึ้น ก็ยังไม่สาย จริงมั้ยครับ

ขายเครื่องเงินใน Amazon ?

รบกวนถามค่ะ ไม่ใช่บริษัท แต่อยากขายเครื่องประดับเงิน Sterling Silver มีแหล่งสินค้าแล้วค่ะ จะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

สำหรับการขายเครื่องเงินใน Amazon ถ้าเป็นแต่ก่อน เราต้องทำการขอ approve เพื่อเข้าไปขายใน “หมวดหมู่” ดังกล่าวครับ

แต่ปัจจุบัน Amazon มีการปรับเปลี่ยน คือ คนที่ต้องการขายสินค้ากลุ่มนี้ โดยเฉพาะ Fine Jewelry จะต้องการทำส่งสินค้าไปตรวจใน lab ของอเมซอน และวางเงินค้ำประกัน 5,000 usd ก่อน

ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า สินค้ากลุ่ม Jewelry บน Amazon แบ่งออกเป็น 2 หมวดหมู่หลักๆ ได้แก่

  1. Fashion Jewelry ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น ที่คาดผมดอกไม้, แหวนเชือกถัก
  2. Fine Jewelry ก็เครื่องประดับที่มีส่วนผสมของ เงิน, ทอง หรืออัญมนีต่างๆ

อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่นี่

ซึ่งก็อย่างที่บอกครับ สินค้ากลุ่มเครื่องเงินต้องส่งตรวจและวางเงินค้ำ

นั่นคือการเริ่มต้นสำหรับการขายเครื่องเงินบน Amazon อย่างถูกต้อง (เน้นนะครับว่าอย่างถูกต้อง) เพราะมีหลายคนที่แอบขาย สร้างลิสผิดหมวดหมู่ หรือใช้คำเลี่ยง เพื่อให้อเมซอนตรวจจับไม่ได้

สินค้าติด Pesticide

สมัครผู้ขายไปแล้วคะ แต่ยังไม่ไปไหนเลยคะ ติด pesticide อยู่ไม่แน่ใจว่ายังขายอยู่ได้ ใช่ไม๊คะ แล้ว ตั้งใจจะเอาสินค้าเอา เข้า FBA คะ แต่ว่าตอนนี้เพิ่งทำ listing ได้  1 รายการเองคะ

เพราะว่า UPC มีปัญหา ทาง GS1 กับ Amazon ยังไม่เคลียร์กันมั้งคะ เวลาที่เพิ่มสินค้า เข้าไป Add product จะขึ้นตรง Production id ว่า invalid ตลอดเลยทั้งๆ ที่ซื้อ แพคเกจ ไปแล้ว แต่ GS1 แจ้งว่า ลงทะเบียน UPC ถูกต้องทุกอย่าง จะแนบไฟล์ให้นะคะ  แต่ทาง Amazon แจ้งว่า ยังไม่ลง Member portal เลยกลับไปที่ GS1  บอกว่าระะบยัง ไม่รองรับ UPC ส่วนของการลงรายละเอียดสินค้า ซึ่ง Amazon ต้องการส่วนนี้

แต่ตอนนี้ก็ได้ลงเรียบร้อยแล้วคะ แต่ยัง ขึ้น Product ID : invalid  อยู่  เลยยังเพิ่มสินค้า ไม่ได้ คิดว่าจะส่งไป FBA พร้อมกัน 2 รายการ คะ เลยยังไม่ได้ส่งไป, ส่วนรายการแรก ยังไม่ได้แน่ใจว่า ถ้ายังไม่ส่งFBA  จะต้องทำยังไงต่อให้ขายได้ไปก่อนนะคะ ตอนนี้นิ่งไปเลยคะ พอจะมีอะไรแนะนำไม๊คะปล.ตอนนี้เข้าedit แก้ไข listing ไมไ่ด้ด้วยคะ ติด pesticide คะ

แยกตอบเป็น 2 ส่วนนะครับ

  1. เรื่อง UPC คงต้องตามกับทาง GS1 ครับ ผมก็ไม่เคยเจอเคสแบบนี้
  2. สินค้าจากประเทศโลกที่สาม ตอนนี้ติดเคส Pesticide เยอะครับ เป็นผลต่อเนื่องจากมาตการเกี่ยวกับการปนเปื้อน ซึ่งสินค้าที่เข้าข่ายก็จะเป็นกลุ่มสินค้าเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง (เท่าที่เจอ มีหลายท่านที่ขายสินค้าที่ดูแล้วไม่น่าเกี่ยวก็ยังโดนระงับการขายเพื่อทำการตรวจสอบ)

ในเรื่อง Pesticide มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะมาก ถ้าสนใจศึกษาเพิ่มเติม ลองเข้าไปดูคอร์สนี้ครับ  ฟรีและชี้แจ้งรายละเอียดไว้ครบถ้วน

สร้าง FBA shipment กับปัญหา Cannot be stickerless, commingled

สินค้าบาง ASIN เมื่อเราสร้าง Shipment สำหรับส่ง FBA จะเจอคำเตือน “Cannot be stickerless, commingled” และไม่สามารถสร้าง shipment ต่อจนจบได้

ปัญหาเกิดจากเรื่องของ SKU ที่เชื่อมต่อกับ ASIN นั้น ซึ่งวิธีแก้ไขที่ง่ายที่ง่ายที่สุดคือ เกาะสินค้าตัวเอง

ขั้นตอนก็คือ ไปที่หน้า inventory ติ้กเลือกสินค้าตัวที่ไม่สามารถสร้าง shipment ได้

แล้วใช้คำสั่ง add other condition เป็นการเพิ่ม sku ใหม่ใน asin เดิม

หรือการเกาะสินค้าตัวเองนั่นแหล่ะ

ดูจากคลิปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างครับ

ขายของใน amazon จะเกาะหรือลิสใหม่ดี ?

ถ้าสินค้าบางตัว ไม่มีแบรนอะไร แต่ขาย ranking ดีพอสมควรเลยคับ เราเกาะ fba ดี หรือ ทำ list ใหม่ดีครับ เพราะ list เค้า rank + review ดีมาแล้ว ??

คุณคิดว่ายังไงครับส่วนตัวผมคิดว่า อาจจะทำทั้งสองทางคู่กันเลยก็ได้

ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับข้อดีของการเจอสินค้าลักษณะนี้แล้วเข้าไปเกาะคือ เราจะได้ cash flow และยิ่งถ้าเอาลิสนี้ทำโฆษณาด้วย ก็จะยิ่งได้ข้อมูลอีกเพียบ

(ทำได้นะ เพราะแม้ว่าลิสจะมีหลาย seller แต่โฆษณาจะโชว์เฉพาะตอนที่เราได้ buybox ดังนั้นโจทย์คือ ทำไงให้เราได้ buybox)

นอกจากความได้เปรียบด้านข้อมูลแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญคือ เราจะได้ cash flow ซึ่งเป้นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนที่เริ่มต้น

แต่ แต่ แต่

การเกาะก็เป็นการเปิดหน้าเล่น นั่นหมายความว่า คุณได้ทำการรำเรียกแขกแล้ว ในอนาคต เมื่อคุณสร้างลิสเอง แล้วมีคนมาเกาะก็พึงระลึกไว้ด้วย

ถ้าคุณเลือกที่จะเกาะ ระหว่างนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ วิเคราะหต่อครับว่า จะสร้างลิสใหม่ยังไงให้แตกต่าง จะปรับปรุงลิสใหม่ด้วยข้อมูลจากลิสที่เราเกาะยังไงดี

ปัญหามันเกิดเพราะ อีตอนขายได้ เราจะใช้เวลาเสวยสุขครับ หลายคนที่ต้องเลิกไป

ทั้งที่แต่ก่อนขายได้เดือนนึงมหาศาล ก็เพราะตอนขายได้ไม่คิดจะต่อยอดจากสิ่งนั้น ไม่ขยับไปเล่น long game

แล้วถ้าเลือกที่จะไม่เกาะหล่ะ ??

สิ่งที่คุณทำได้ และทำง่ายกว่าแต่ก่อนคือ วิเคราะห์สินค้าแล้วเอา keyword มารวบรวมและ tracking เอาไว้ครับ (ไปดูคลิปต้นปีก็ได้)

พูดง่ายๆ ก็คือ เราแอบสะกดรอยลิสนั้นด้วยการ tracking keyword ดีๆ โดยไม่ต้องเกาะเขา แล้วเอาข้อมูลมาสร้างลิสเราเอง

ผมไม่เชิงว่าจะตั้งแง่กับการเกาะแต่ควรจะรู้ข้อดีข้อเสียของมันด้วยนะจ๊ะ

ทำไมหาสินค้าตัวเองบน Amazon ไม่เจอ !!??

แต่เดิมเวลาคุณ, ผม, ลูกค้า ค้นหาสินค้าใน amazon สักตัวนึง

ผลลัพธ์ที่โชว์ให้เรา “ทุกคน” เห็นจะเหมือนๆ กัน

สมมุติว่า คุณเห็นสินค้าตัวเองอยู่อันดับที่ 8 ในหน้าแรก ผมก็จะเห็นแบบนั้น และลูกค้าที่ california ก็จะเห็นแบบเดียวกัน

แต่ปัจจุบันไม่ใช่ !!

ล่าสุด ผลการค้นหาที่เกิดแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน เคสที่ผมเจอคือ ผม track สินค้ากับ keyword ด้วยโปรแกรม

ข้อมูลในโปรแกรมโชว์ว่าสินค้าอยู่อันดับที่ 28 แต่พอไปหาผ่านหน้าเว็บ amazon ไล่ไปถึงหน้า 20 ก็ยังไม่เจอสินค้า O_o! 

 การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบไม่น้อยเลย ทั้งเรื่องสถิติในส่วนของ session ที่เกิดกับสินค้าและลูกค้า

โดยเฉพาะในส่วนของ seller อย่างเราๆ ก็ทำงานยากขึ้น เพราะคุณจะประเมินอันดับสินค้า

โดยวัดจากการเข้าไปดูผ่านหน้าเว็บเหมือนเคยๆ อาจจะไม่ได้แล้ว (เพราะคนที่ us อาจจะเห็นอีกอย่าง)   

 และไม่ใช่แค่นั้น… ดูที่ไทย กับดูที่ us อันดับก็ต่างกัน

ดูที่ us แต่ต่าง browser อันดับก็ต่างกัน ดูที่ us บนมือถือ กับดูผ่านไอแพด อันดับก็ต่างกัน ถามว่าแบบนี้เป็นปัญหามั้ย ?

ถ้าตอบในมุม seller ก็น่าจะนิดหน่อย

อย่างที่บอกเราจะประเมินผลการทำงานของเรายากขึ้นนิดนึง อาจจะต้องใช้ tracking tool อย่าง h10 ที่ใช้ IP US ในการเข้าไปเช็ค (ตีความได้ว่า ผลลัพธ์ที่ได้น่าจะใกล้เคียงกับที่ลูกค้า us เห็น)

ซึ่งแน่นอน ถ้าคุณขายของใน Amazon UK คุณก็ควรจะเช็คด้วย IP ของ UK ในฝั่งลูกค้า

การปรับเปลี่ยนนี้น่าจะได้ประโยชน์ เพราะระบบมีความ dynamic มากขึ้น มันก็เป็นเช่นนั่นแล…

p.s. แต่ แต่ แต่ กรณีการหาสินค้าไม่เจอ คุณจำเป็นต้องแยกระหว่าง เคส “สินค้าไม่ index” กับเรื่องนี้นะครับ

ลาแล้ว Amazon : ปิด account ทำยังไงครับ ?

ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง มีเกิดย่อมมีดับ มีเริ่มก็ย่อมมีเลิกรา ถถถ จะสัจธรรมไปไหน, วันนี้เรามาดู “วิธีการปิด account Amazon” สำหรับคนที่ต้องการจะเลิกทำนะครับ

อยากเลิก หรือ แค่พัก

ก่อนอื่นต้องถามตัวเองให้ดีก่อนครับว่า ต้องการที่จะเลิกขายเลย หรือว่าแค่ต้องการ “ปิดร้านชั่วคราว”

เพราะขั้นตอนของสองอย่างนี้ต่างกัน

ในส่วนของการ “ปิดร้านชั่วคราว” หรือ Vacation ทำง่ายๆ ผ่านระบบเลย

แค่ไปที่เมนู Settings > Account Info จากนั้นให้ดูที่ส่วนของ Listings Status จะเห็นลิงค์ Going on a vacation ?

สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ การตั้งค่าเป็น Vacation นี้ สำหรับผู้ขายแบบ Professional (จ่ายรายเดือน) “ต้องจ่าย” รายเดือนปกตินะครับ

และต้องยังคงต้องตอบข้อความลูกค้าด้วย (ซึ่งไม่น่าจะยากเพราะตอบผ่านแอพได้)

เอาจริงๆ สำหรับผู้ขายแบบ Pro การขอลาพักนี่แทบจะไม่มีอะไรต่างจากปกติ

ตัวลิสสินค้าก็ขายไปปกติ ไม่ได้ถูกปิดหรือหายออกจากระบบของ Amazon

Your Fulfillment by Amazon (AFN) listings will remain active on Amazon when using this feature.
Any Buyer-Seller Messages received while on vacation will still require a response in 24 hours.

แต่สำหรับผู้ขายแบบ Individual เมื่อทำการปรับร้านเป็น Vacation ตัวลิสสินค้าของเราจะถูกเก็บออกจากระบบชั่วคราว จนกว่าเราจะกลับมา Active อีกครั้ง

ดังนั้น ผู้ขายแบบ Professional ถ้าต้องการพัก (ไม่ใช่เลิก)

สิ่งที่ควรทำคือ Downgrade บัญชี ลงมาเป็น Individual ครับ

วิธีการดังนี้ ปที่เมนู Settings > Account Info จากนั้นให้ดูที่ส่วนของ Your Services จะเห็นลิงค์ Manage

เลื่อนลงมาตรงส่วน Sell On Amazon แล้วเลือก Downgrade ครับ

**การ downgrade นี้ จะมีผลในรอบบิลถัดไปนะครับ

Amazon เธอกับฉัน เราจบกัน !!!

สำหรับบัญชีผู้ขายแบบ Individual ที่ไม่ได้จ่ายรายเดือน การยกเลิกบัญชี

อาจจะแค่ลบสินค้า (Delete listing) ออกให้หมด ก็เป็นอันเสร็จพิธี หรือถ้าจะเอาให้ชัวร์ ก็ทำการปิด account ด้วยก็ได้ครับ

เงื่อนไขการขอปิดบัญชีผู้ขายบน Amazon

  1. จัดการสินค้าค้างส่งให้เรียบร้อย
  2. ไม่มีเคสร้องเรียน (A-Z) ตกค้าง
  3. ยอดเงินคงเหลือเป็นศูนย์

วิธีการปิด Amazon Account สำหรับผู้ขายแบบ Professional เราทำเหมือนการเปิดเคสกับ support เลยครับ คือไปที่เมนู Help > Contact us เลือก Selling on Amazon

ในช่อง Tell us how we can help พิมพ์ว่า close account จากนั้นเลือกตามรูปด้านล่างนี้ได้เลยครับ

***เพิ่มเติมอีกนิด สำหรับคนที่ทำ FBA แล้วมีสินค้าค้างอยู่ในระบบ

จะต้องทำการเคลียร์สต็อคให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งขั้นตอนการเคลียร์สินค้าที่ค้างใน FBA ทำได้ 2 แบบ ดังนี้

  1. ส่งกลับ (Ship-to address) วิธีนี้ Amazon จะส่งสินค้าที่เหลือค้างออกมา แต่ปัจจุบันยังส่งได้แค่ใน USA (หรือในประเทศต้นทางบัญชี) ถ้าจะส่งกลับไทย จะต้องใช้บริการ forwarder เพื่อรับสินค้าแล้วส่งกลับไทยอีกที โดย Amazon จะคิดค่าบริการในการนำของออกมาด้วย
  2. ทำลาย (Dispose) การสั่งให้ Amazon ทำลายสินค้าก็มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดย Amazon จะคิดราคาต่อชิ้น (เรตเดิมคือ ชิ้นละ 0.5usd – ปัจจุบันไม่แน่ใจ)

วิธีการจัดการสินค้าที่ค้างใน FBA

ไปที่เมนู Inventory > Inventory Planning ที่ด้านขวาสุดของรายการสินค้า

คลิกที่ปุ่มคำสั่ง เพื่อเลือก Create removal order ที่หน้านี้ ระบบจะให้เลือกว่าจะส่งกลับหรือทำลายทิ้ง เลือกและใส่จำนวน

จากนั้นกด Continue ระบบจะทำการประเมินค่าใช้จ่าย ถ้าโอเคก็คลิกที่ Place order เป็นการยืนยัน

จากขั้นตอนนี้ เราอาจจะต้องรอ 1-2 สัปดาห์ให้ระบบดำเนินการ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

ระบบจะหักจากยอดขาย หรือถ้าไม่มีก็จะตัดจากบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับบัญชีครับ

เมื่อเคลียร์สต็อคเรียบร้อย ก็ไปดำเนินการแจ้งปิดบัญชีได้เลย

สินค้าห้ามขายบน Amazon แยกตามหมวดหมู่

วันก่อนมีเพื่อนท่านนึงส่งคำถามมา เกี่ยวกับข้อกำหนดเกี่ยวกับสินค้าที่ “ห้ามขายบน Amazon” คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับอีกหลายๆ ท่าน ลองตรวจสอบดูครับ

รายละเอียดทั้งหมด Amazon ได้รวบรวมได้ในหน้า Restricted products

ว่ากันตรงๆ คงไม่ง่ายที่จะนั่งอ่านทั้งหมด ลองเลือกดูตามหมวดหมู่ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับสินค้าที่คุณจำหน่ายครับ

นอกจากสินค้าที่สามารถแยกเป็นหมวดหมู่ได้แล้ว ก็ยังมีสินค้าอีกเยอะพอสมควรที่ไม่สามารถจำแนกได้ และถูกจับรวมอยู่ในหมวดที่เรียกว่า Other Restricted Products ซึ่งผมว่าน่าสนใจดี

ลองยกเป็นตัวอย่างมาดูกัน

  • Confederate flag merchandise
  • Coupons
  • Domain names
  • Drop-side cribs
  • Event tickets, such as concert tickets and sporting events tickets
  • Real or replica government, law enforcement, security, or military or paramilitary badges, identification documents, birth certificates, passports, licenses, patches, collars, or tags
  • Listings that redirect any customers from the Amazon.com site into any other sales channel with the exception of advertisements that are part of the Amazon Product Ads
  • Magic Wine Decanter
  • Products intended to be used to produce an illegal product or undertake an illegal activity
  • Products made available by digital download, including “codes” that can be used to access content on other websites or services
  • Products that infringe upon an individual’s privacy, such as the sale of marketing lists and personal information
  • Products with the serial number removed or altered
  • Real property or real estate
  • Solutions manuals intended to be used by teachers, proctors, or official examiners (textbooks and solutions manuals for students are permitted)
  • Teacher’s editions of textbooks in any format, such as:
  • Hardcopy or softcover books
    eBook, CD-R, DVD or other electronic versions of teacher’s editions
  • UPC Barcode Labels and EAN Codes, including EAN Code generators
  • Used or refurbished gas connectors
  • Video game bundles (e.g., bundles of products sold together, such as the “Sony PlayStation Portable Bundle with 5 Games”) without pre-approval by Amazon
  • Your Baby Can Read products

จะเห็นว่ามีสินค้าที่เป็นลักษณะจับต้องไม่ได้รวมอยู่ด้วย เช่น โดเมน (ชื่อเว็บ)

รวมถึงสินค้าบางอย่างที่ “ห้าม” จับมาขายคู่กัน (bundle) เช่น เครื่องเล่นเกมส์ Playstation ที่ขายคู่ไปกับเกมส์ (ต้องได้รับอนุญาตจาก Amazon ก่อนเท่านั้น)

ต้องแยกกันนะครับ ระหว่างสินค้าที่ห้ามขายบน Amazon กับ สินค้าที่ห้ามส่ง FBA (FBA product restrictions)

ปัจจุบันมี seller จำนวนมากที่ส่ง FBA มาตรการต่างๆ ของ Amazon ก็เริ่มที่จะมากขึ้น โดย Amazon พยายามอำนวยความสะดวกและลดความผิดพลาดให้ seller อย่างเราๆ

ด้วยการเพิ่มขั้นตอนเข้ามาในส่วนของการ Convert to ‘Fulfilled by Amazon’ ที่ให้เราต้องชี้แจงก่อน – ซึ่งผมคิดว่าการเพิ่มขั้นตอนนี้เข้ามา ช่วยให้ทั้งเราในฐานะผู้ขายและ Amazon ประเมินตัวสินค้าและลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้ดียิ่งขึ้น

ข้อกำหนดสำหรับสินค้าที่ห้ามส่ง FBA สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่หน้านี้ครับ FBA product restrictions

[สายโหด] แนวทางในการจัดการพวกชอบเกาะ

ถ้าจะเตือนคนที่มาเกาะก่อน ลองใช้ประโยคประมาณนี้

Dear “คนเกาะ”

I am the owner of ชื่อร้านคุณ and you need to remove your listings off of my products immediately.

We sell branded products and you are in violation of Amazons terms by advertising and selling counterfeit products.

Our products are individually labelled with our company brand to which we have the exclusive rights.

ชื่อร้านคุณ is a trademarked brand and if you do not remove your listing, we will file a trademark infringement claim with Amazon.

***If you wish, you can view our trademark listing below.
http://tsdr.uspto.gov/#caseNumber=86938544&caseSearchType=US_APPLICATION&caseType=SERIAL_NO&searchType=statusSearch

I will give you 48 hours to comply.

Sincerely,
ชื่อ

***ถ้าจด trademark ไว้ควรแนบลิงค์ไปที่เอกสารยืนยันด้วย ถ้าไม่ได้จดก็ลบท่อนนี้ออก

แต่ถ้าไม่ต้องการเตือน ก็ submit เคสได้เลย https://www.amazon.com/gp/help/reports/infringement

ขั้นตอนการติดต่อ Amazon Seller Support

Amazon Seller Support เป็นอีกจุดเด่นหนึ่งที่ทำให้การขายของบน Amazon น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ทั้งความง่ายและความรวดเร็วในการตอบและจัดการเคสต่างๆ

แต่บางท่านที่เพิ่ง เริ่มต้นขายของ Amazon อาจยังไม่รู้ว่าขั้นตอนในการติดต่อเจ้าหน้าที่ หรือการเปิดเคส กับ Amazon ต้องทำยังไง ลองติดตามได้ในวีดีโอนี้ครับ

P.S ตอนนี้ Amazon Seller app สามารถเปิดเคสต่างๆ กับทาง amazon support ได้แล้ว

P.P.S ปัจจุบันการเปิด Isuues Case กับ Amazon Support โดยตรง ค่อนข้างจะซับซ้อนกว่าแต่ก่อนมาก เนื่องจากอเมซอนพยายามให้ seller เรียนรู้และแก้ปัญหาผ่าน help ที่สร้างไว้เป็นขั้นๆ ไป แต่เราก็ยังสามารถทำได้อยู่นะ ตามนี้ครับ

FBA สถานะ Reserved หมายความว่าอะไร ?

สำหรับท่านที่ขายของ amazon โดยเฉพาะถ้าคุณส่งสินค้าแบบ FBA น่าจะเคยสังเกตุเห็นสินค้าของเราไปอยู่ในช่อง Reserved

สงสัยมั้ยว่า Reserved นี่มันคืออะไร ?? โพสนี้มีคำตอบครับ

ที่เมนู manage inventory *ช่อง reserved เราสามารถคลิกที่ตัวเลขเพื่อดู รายละเอียดเพิ่มเติมได้

โดย Reserved Quantity จะมี status ทั้งหมด 3 อย่าง ตามรูปที่เห็นด้านบนครับ

  • Customer orders
  • FC transfer
  • FC processing

Customer orders [These units are being used to fulfill customer orders.]

ส่วนนี้นี่ค่อนข้างเคลียร์อยู่แล้วว่าเป็นส่วนที่เตรียมส่งให้ลูกค้า แต่อีกสองอันที่เหลือดูจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ ผมไปหาคำตอบมาให้ ตามนี้ครับ

FC transfer [These units are being transferred from one fulfillment center to another to place the inventory closer to customers. Units in FC Transfer status are available for customers to buy. Customers may be shown a future ship date if no other units are available for immediate fulfillment. Transfers typically take 1-5 days to complete, but in some case may take up to 30 days.]

เรียกง่ายๆ ว่าอยู่ระหว่างย้ายศูนย์กระจายสินค้า (FBA) – ลองนึกภาพตามนะครับ อเมซอนมีที่เก็บสินค้า Fulfilment center สำหรับเก็บและกระจายสินค้าอยู่ทั่วอเมริกา

เป็นไปได้ที่ระบบจะโยกย้ายสินค้าของเราจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง กระจายบางส่วนไปไว้อีกศูนย์ เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่งให้ถึงมือลูกค้า

FC processing [These units have been sidelined at the fulfillment center for additional processing, such as verification of item dimensions and weight or pending investigations.]

อันนี้คือ สินค้าอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบเพิ่มเติม เช่น การวัดขนาด ชั่งน้ำหนัก หรือตรวจสอบข้อมูลด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า

รายละเอียดของ Reserved Quantity มีความสำคัญ

เพราะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจในการบริหารสต็อคได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

p.s. สำหรับท่านที่เข้าไปในเมนู Manage Inventory แล้วหาคอลัมม์ Reserved ไม่เจอ คุณต้องเรียกมันขึ้นมาก่อนครับ

โดยคลิกที่ปุ่ม perference และติ้กเลือก Reserved แล้ว Save แค่นี้ระบบก็จะแสดงช่อง Reserved แล้วครับ

สินค้าตัวไหนที่มี Reserved ก็จะแค่เอาเมาส์ไปวาง มันก็จะขึ้นตามรูป (ด้านบน)

อ้างอิง: https://sellercentral.amazon.com/gp/help/external/201723860

ขายของบนอเมซอน ได้รับข้อความต้องทำไง

เหมือนจะเป็นแค่เรื่องเล็กๆ แต่สำหรับ คุณชายละเอียด อย่างอเมซอน แม้แต่การตอบโต้ข้อความกับลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ

เพราะความเร็วในการตอบข้อความ

รวมไปถึงความพึงพอใจในคำตอบจากผู้ขาย (seller) อเมซอนก็นำมาคำนวน เป็นปัจจัยหนึ่งใน Seller performance

การจัดการข้อความบนอเมซอนมีเทคนิคบางอย่างที่ seller หลายๆ คนอาจมองข้าม ลองติดตามแนวทางได้จากบทความนี้ครับ

แทบจะเป็นงานประจำของ seller แบบผมที่ต้องเข้ามาเช็คความเรียบร้อยใน account ผู้ขาย

และสิ่งแรกๆ ที่ต้องทำก็คือ ดูที่แท็บ Buyer Messages เป็นอันดับแรก (ใช้หางตามองไปที่ยอดขายในเวลาเดียวกัน 555+)

(จากรูปจะเห็นว่ามี 1 ข้อความจากลูกค้าที่ผมตอบช้า – เกิน 24 ชั่วโมง)

ลองดูที่ seller performance ในส่วนของ message จะเห็นว่านอกเหนือจากความรวดเร็วในการจัดการกับข้อความแล้ว

อเมซอนเริ่มนำค่า Customer Service Dissatisfaction Rate (Beta) ความพึงพอใจในการให้บริการ มาทดลองใช้เป็น message metrics ด้วย

เช่นเดียวกับ metrics ตัวอื่นๆ ที่อเมซอนจะดูผลเป็นระยะ 7 วัน, 30 วัน และ 90 วัน

วิธีการจัดการข้อความในฐานะ Amazon seller

แน่นอนว่าในฐานะคนขายของในอเมซอน เมื่อได้รับข้อความจากคุณลูกค้า (ถ้าใครใช้ Amazon seller app จะมีแจ้งเตือนบนมือถือ)

สิ่งที่ต้องทำคือ จัดการข้อความนั้นให้เร็วที่สุด

ผมเลือกใช้คำว่า “จัดการ” ไม่ใช่แค่ “ตอบข้อความ” เพราะบางข้อความที่เราได้รับ อาจไม่ใช่ข้อความที่ต้องตอบ แต่ “จำเป็น” ต้องจัดการ

ในฐานะผู้ขาย เราจำเป็นต้องมี action บางอย่าง เพื่อให้อเมซอนเห็นว่าเราให้ความสำคัญ

มี 2 จุด (ตามลูกศร) ที่หลายคนอาจมองข้าม

จุดแรก If you believe this message is suspicious, please report it to us here ตรงนี้ถ้าคุณได้รับข้อความที่เป็นลักษณะผิดปกติ เช่น ถ้ารับเงินจาก paypal จะสั่งจำนวนเยอะๆ, ส่งสินค้ามาให้มัน

เดี๋ยวมันจะรีวิวสินค้าให้ หรือบริการแปลกๆ เราสามารถช่วยรายงานพฤติกรรมแบบนี้ให้อเมซอนได้ โดยการคลิกที่ลิงค์นี้

จุดที่สอง Mark as no response needed ต้องช่องนี้ ถ้าคุณลูกค้าส่งข้อความมาขอบคุณ หรือข้อความที่คุณคิดว่า

“ไม่จำเป็นต้องตอบกลับ”

ก็สามารถติ๊กที่ช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้า เพื่อแสดงการรับทราบ และปิดเคสข้อความนี้ไป

นี่ก็เป็นวิธีการจัดการข้อความในฝั่งของผู้ขายที่ถูกต้อง และไม่ควรมองข้าม

เพราะอย่างที่บอก การจัดการข้อความก็มีผลกับ seller performance ด้วยเช่นกัน

หวังว่าเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ นี้จะเป็นประโยชน์กับนักขายหลายๆ ท่านครับ

ขาย Amazon กับปัญหาบัตรเครดิต

“เรื่องมันมีอยู่ว่า วันนึงมีเมล์จาก amazon มาหาพี่ บอกว่าเงินโดน hold เนื่องจากบัตรเครดิต

ข้อความในอีเมล์แนะนำให้เช็ควันที่หมดอายุของบัตร นู้นนี่นั่น

พี่ก็กลับไปเช็ค ก็เอ๊ะ ทุกอย่างปกติ บัตรยังอยู่ไม่หมดอายุ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นนิ !!??
สุดท้ายพี่เลยโทร.เช็คที่แบงค์เจ้าของบัตร

ได้ความว่า สาเหตุมาจากแบงค์ระงับบัตรชั่วคราวโดยไมแจ้งล่วงหน้า เนื่องจากลืมจ่ายตังค์ !!!

พี่รีบติดต่อแบงค์เพื่อขอให้บัตรกลับมาใช้งานได้ทันทีในวันนั้น

แต่พอติดต่อกลับไปทางอเมซอน มันไม่ง่าย ไม่ใช่แค่การอัพเดทข้อมูลว่าใช้งานได้แล้ว

สุดท้ายพนักงานที่คุยด้วยแนะนำให้กรอกเลขที่บัตรใหม่ พอกรอกเสร็จ เค้าบอกว่าให้รอ 48 ชั่วโมง

(ทำไมบอกหลังจากชั้น enter new card click ok แอบโกรธเล็กน้อย)

ประเด็นคือ ครบ 48 ชั่วโมง โดยไม่มีการ action อะไร
ยังคง alert ธงแดงเตือนเหมือนเดิม เข้าไปแล้วคลิ๊กไปไหนไม่ได้เหมือนเดิม

พี่เริ่มอยู่เฉยไม่ได้ เพราะ order เข้าแต่เราไป confirm ไม่ได้

แนวทางที่พีทำงานกับกรณีนี้

  1. ทันทีที่เกิดปัญหา เช็คว่าบัตรเราเกิดอะไรขึ้น เช่นหมดอายุมั๊ย ถ้าหน้าบัตรยังไม่หมด ติดต่อแบงค์ด่วนๆ
  2. ติดต่อ AMZ ทันที อย่างน้อยจะมี record ความพยายามของเราให้เค้าเห็น
  3. ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ แบงค์ระงับบัตร โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า (ได้รับ SMS เตือนให้จ่ายตังค์ และมีการระงับบัตรในวันเดียว) ดังนั้น เมื่อครบ 48 ชั่วโมง พี่ติดต่อธนาคาร ให้เค้าทำหนังสือรับรองสถานบัตรให้เราเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งก็ได้รับอีเมล์หนังสือรับรองตอบกลับภายในวันเดียว
  4. ยื่นหนังสือรับรองนั้นกับทาง Amazon และ Account ของพี่ก็กลับมา activate เกือบจะทันทีที่ยื่นหนังสือไป (ส่งไปเวลาพนง.เค้าทำงาน)

ฉะนั้น อย่ารอเจ้าหน้าที่ Amazon เพียงอย่างเดียว เค้าตอบกลับแค่ จะตรวจสอบ เราไม่เห็นอนาคต การเอาหลักฐานยื่นเข้าไปช่วยชีวิตเราได้เยอะค่ะ แชร์เรื่องจริงผ่านจอมาให้ทราบ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับ Thailand Amazon Seller ท่านอื่นๆ ค่ะ

ข้อมูลจากคุณพี่ท่านนี้เป็นประโยชน์มากๆ

ข้อสำคัญคือ ตัวเราในฐานะผู้ขาย ต้องเข้าไปดูและคอยเช็คข้อมูลเหล่านี้ด้วย

การป้องกันก่อนเกิดปัญหาลักษณะนี้ก็คือ ระวังอย่าให้บัตรเครดิตที่ผูกไว้เกิดปัญหา

แต่อีกเคสที่ใกล้เคียงกันก็คือ บัตรเครดิตหมดอายุ และเราสามารถป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนได้โดยการ เพิ่มข้อมูลบัตรใหม่เข้าไปก่อนที่บัตรจะหมดอายุนั่นเอง

รวมพลังสร้างทีมขายบน Amazon

มีหลายๆ เหตุผลที่ทำให้ผมเลือก amazon เป็นอันดับต้นๆ ในการขายสินค้า

ทั้งเรื่องของระบบ การจัดการ ไปจนถึงจำนวนฐานลูกค้า และความเหมาะสมกับสินค้าที่ผมขายอยู่

วันนี้ผมมีอีกเหตุผล ที่น่าจะทำให้คุณสนใจทำธุรกิจกับ amazon มากขึ้นก็ได้ครับ

พูดถึงระบบที่เอื้ออำนวยกับผู้ขายอย่างเราๆ ท่านๆ (Third party seller) ต้องบอกเลยว่า amazon สร้างมาได้ดีมาก เมื่อเทียบกับ eBay และ etsy (ทั้งสองเจ้านี้มีพื้นฐานที่ดีกว่ามากในเรื่องของ community ที่เปิดโอกาสให้ผู้ขายกับผู้ซื้อได้สื่อสารกัน)

ระบบของ amazon ที่ให้เราสามารถเพิ่มทีมงานได้ ช่วยให้เราสามารถจัดการกับร้านค้า และธุรกิจของเราได้อย่างเป็นรูปร่างและเป็นระบบมาก

คุณสามารถแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ให้กับทีม และยังลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียรายเดือนให้กับอเมซอน (monthly fee) ได้ด้วย

การขายสินค้าออนไลน์ หรือ e-commerce นอกจากการ “ขาย” ให้ได้ ที่เป็นหัวใจหลักเพื่อความอยู่รอดแล้ว

การบริหารจัดการทั้งส่วนของต้นทุน, กำไร, การจัดการสต๊อค (Inventory) ก็นับเป็นปัจจัยที่มีผลกับการอยู่รอด และผู้ขายอย่างเราไม่ควรมองข้าม

มากกว่าแค่การขายสินค้า

ยิ่งขายยิ่งวุ่น ยิ่งขายยิ่งเข้าเนื้อ น่าจะเป็นอาการเริ่มต้นของการให้ความสำคัญแต่การขาย จนมองข้ามเรื่องการบริหารจัดการไป

ลองมาดูวิธีการเพิ่มผู้ดูแลเข้าระบบ amazon วิธีการก็ไม่ยากเลยครับ ลุย!!!   ไปที่ Menu Setting แล้วเข้าที่ User Permission

ไตเติ้ลที่ดีสำหรับสินค้าบน Amazon ควรเป็นแบบไหน ?

หลังวันที่ 22 กรกฏาปีนี้ (2019) อเมซอนจะเริ่มลงโทษลิสสินค้าที่ทำผิดกฏในส่วนของไตเติ้ลนะครับ แบ่งเป็น 4 เรื่องหลักๆ ตามนี้

  1. ใช้คำที่เป็นลักษณะ “Promotional Keywords” เช่น free shipping, 100% guarantee, sale, hot items, best seller
  2. ใช้ตัวอักษรที่ไม่สามารถอ่านได้ เช่น สัญลักษณ์ต่างๆ (~ ! * $ ?) รวมถึงตัว ASCII (เช่น Æ, ©, ô) และ emoji 😰
  3. ให้ใช้ตัวอักษรได้ไม่เกิน 200 “ตัวอักษร”
  4. ไม่ระบุข้อมูลของสินค้าในไตเติ้ล เช่น การใช้ วลีสั้นๆ (ที่ไม่อธิบายใดๆ ให้คนอ่านเข้าใจตัวสินค้า)

การลงโทษเบื้องต้นคือ แบนลิสออกจากผลการค้นหา
แล้วไตเติ้ลที่ดีควรเป็นแบบไหน ?

  1. ให้ความสำคัญกับ 50-80 ตัวอักษรแรก เพราะส่วนนี้ลูกค้าจะเห็นได้ทั้งผ่านหน้าจอคอมและบนมือถือ
  2. ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกของคำเท่านั้น (ไม่ใช่จัดพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร)
  3. คำเชื่อมต่างๆ เช่น and, or, for, the, an,a ควรใช้ตัวเล็ก
  4. ใช้ตัวเลขแทนคำ เช่น ใช้ “5” แทน “five”
  5. แสดงหน่วยด้วยคำ ดีกว่าใช้สัญลักษ์
  6. บอกรายละเอียดใน child ASIN ตัวอย่าง
    — parent (ตัวแม่): Crocs Beach Clog
    —-child (ตัวลูก): Crocs Beach Clog, Lime, Medium (Women’s 8-9 M US/Men’s 6-7 M US)
amazon good title

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *