Work
บน Amazon ส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญมากๆ และมีผลต่อยอดขายโดยตรงก็คือ Main Image หรือรูปภาพแรกนั้นเอง
เพราะเป็นรูปที่ลูกค้าจะคลิกเข้ามาดูข้อมูลและตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ แต่ข้อกำหนดของรูปนี้ก็คือ พื้นหลังต้องขาว ดังนั้น รายละเอียดเล็กๆ เช่นการจัดวางของสินค้า ย่อมสร้างความแตกต่างได้ ในรูปตัวอย่างด้านล่างนี้ ถ้าให้คุณทายว่า รูปไหนขายดีกว่า
รูปภาพจาก Pickfu คำตอบอาจจะเป็นซ้ายหรือขวา แต่มันไม่สำคัญเลย เพราะสิ่งที่สำคัญคือ ลูกค้า “โดนใจ” รูปไหนมากกว่านั่นเอง ถ้าคุณมีความรู้เรื่องการทำโฆษณาใน facebook, gg display คุณสามารถทำโฆษณาเพื่อเทสหาคำตอบว่า “รูปไหนโดนกว่า” ได้ไม่ยาก แต่ถ้าคุณทำไม่เป็น pickfu เป็นเครื่องมือที่ช่วยคุณตัดสินใจได้ครับ
หลักการคือ เราสร้างแคมเปญใน pickfu เพื่อเทสอะไร ? (จะเทสรูปเหมือนตัวอย่าง หรือจะเทส Title หรือชื่อสินค้าก็ได้) จากนั้น เลือกกลุ่มเป้าหมายคร่าวๆ และกำหนดว่าคนที่ร่วมเทส จะต้องเป็นลูกค้า Amazon FBA แล้วก็รอผลเทสได้เลย
ค่าใช้จ่ายสำหรับ pickfu เมื่อเทียบกับ facebook ads แพงกว่าพอสมควร แลกมาด้วยความง่ายในการใช้งานครับ
วิธีการใช้งาน สามารถดูได้ในคลิปนี้
VIDEO
Work
ส่วนตัวผมใช้ช่องทางนี้ขายของที่ผมใช้แล้วบ่อย เพราะสะดวก และขายไวมาก (ไวกว่าไปลิสขายใน kaidee, pantipmarket)
ข้อดีของมันคือ สินค้าเราจะไปโผล่ในกลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจ และยังสามารถยิงโฆษณาเพิ่มเติมได้ (โดยไม่ต้องสร้างเพจ ยิงผ่าน facebook account ส่วนตัวเราเลยก็ได้)
โพสนี้จะแชร์ขั้นตอนการลิส และเทคนิคการนำไปใช้สำหรับคนที่ขายของใน Amazon
1. ขั้นตอนการลิสสินค้า และการโฆษณาก็ง่ายๆ ลำดับตามรูปภาพเลย
จากนั้นรอทาง Facebook รีวิวรายการสินค้าของคุณ
เมื่อสร้างลิสสินค้าเรียบร้อย เราสามารถโฆษณาลิสนั้นได้ (Facebook Marketplace Ads ) ผ่าน Facebook account ส่วนตัวง่ายๆ ได้ทันที
2. สำหรับท่านที่ขายของในอเมซอน อาจจะใช้การลิสสินค้าในนี้เพื่อเป็นการหา review หรือดันสินค้ายกตัวอย่างคุณอาจจะลิสสินค้าด้วยราคาต่ำกว่าของจริง เพื่อให้ลูกค้าที่สนใจทักเข้ามาจากนั้นก็อธิบายเงื่อนไข เช่น
“ขอบคุณมากที่ให้ความสนใจสินค้าเรา ตอนนี้เรามีเงื่อนไขพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้าและให้ honest review กับสินค้าของเรา โดยเราจะส่งสินค้าให้ฟรีๆ อีก 1 ชิ้น ” เป็นต้น
เนื่องจากเราไม่ได้ต้องการให้เกิดการซื้อขายจริงในระบบ facebook ทุกการซื้อขายจะเป็นการที่ลูกค้าทักเข้ามา และเราส่ง link ให้ลูกค้าไปซื้อเองในอเมซอน
สำหรับการดันอันดับ ก็ทำคล้ายๆ กันคือ ลิสสินค้าแบบ Buy 1 Get 2 Free จากนั้นเมื่อลูกค้าทักเข้ามา อาจจะส่งเป็น keyword link ให้ลูกค้าไปทำการซื้อ หรือ ให้ลูกค้าค้นหาลิสเราจาก keyword ที่ต้องการดัน ก็ทำได้ครับ สิ่งสำคัญคือ การลิสจะต้องเลือกพื้นที่ให้อยู่ในประเทศที่เราขายอเมซอน เช่น คุณขายใน Amazon US ก็เลือก new york, LA ก็ว่าไป
หวังว่าจะเป็นไอเดียและแนวทางสร้างอีกช่องทางการตลาดนะครับ 😉
Work
คุณสร้าง list สินค้าได้ดีรึยัง ? และมันช่วยเปลี่ยนความใส่ใจเป็นเงินได้ดีแค่ไหน ?
สิ่งนี้วัดได้จากค่า USP [Unit Sessions Percentage]
ดูได้โดยเข้าไปที่เมนู ‘Reports’ -> ‘Business Reports’ -> ‘Detail Page Sales By Traffic Child Item’ (ดูได้เฉพาะ Pro seller account)
ค่า Unit Sessions Percentage USP ก็คือ Conversion Rate นั่นเอง
Unit Sessions Percentage = จำนวนออเดอร์ที่ขายไป ÷ จำนวนคนที่เข้าดูลิสสินค้าของคุณ
สมมุติ เดือนสิงหา สินค้า ASIN BX324234 เท่ากับ 24%คุณได้ทำการปรับปรุงลิส โดยการพยายามเพิ่มจำนวนรีวิว, จ้างเขียน bullet ใหม่ หรือปรับลำดับรูปสินค้าใหม่
เดือนกันยา สินค้า ASIN BX324234 เพิ่มเป็น 28% แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 4% แต่ถ้าจำนวนคนเข้ามาดูเยอะ ความต่างนี้ก็มีมูลค่าไม่น้อยเลย
Work
แค่ลืมคำว่า “หาสินค้าง่ายๆ จาก 7/11 และโลตัสใกล้บ้าน” คุณอาจพบโอกาสและไอเดียสินค้าใหม่อีกเพียบ
ทำยังไง แบบไหน โพสนี้มีมาให้ติดตามครับ
อ่านเจอจากเพจนึง เกี่ยวกับคนที่หยิบเอาใบไม้แห้งมาแพคขายออนไลน์ (อ่านต่อ .. )
จริงๆ เคสสินค้าแบบนี้ผมเจอและนำเสนอบ่อยอยู่ล่าสุดถ้าจำกันได้ก็เป็น ก้อนหินริมหาดที่ขายดีกันในอเมซอนในอเมซอนหรือ marketplace อื่นๆ – การ “เริ่มต้น” ขายสินค้าทำนองนี้ง่ายมากๆ สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้คือ keyword และความกล้าที่จะลอง
วันนี้เราลองเอาเคสของใบหูกวางเป็นตัวตั้งต้น ลองมาดูกันว่า จะเอาไปเริ่มต้นขายในอเมซอนยังไง
keyword ที่ตรงกับสินค้าตัวนี้ ถ้าคุณมีโปรแกรมก็ง่ายหน่อย ผมเริ่มต้นด้วยคำว่า Catappa Leaves ใน JS (ตามรูป) ลองไล่ดูคำที่ตรงกับสินค้าจริงๆ แม้จะมีปริมาณการค้นหาต่อคำไม่เยอะ แต่รวมๆ แล้วก็ไม่น้อย วิเคราะห์ต้นทุนสักหน่อย (คร่าวๆ จากข้อมุลสินค้าคนอื่นที่เขา FBA ไว้แล้ว) ตามรูป ลองไปหาสินค้า และเลือกแพคเกจ อาจจะเริ่มต้นที่ 10 แพค สำหรับ FBA จะได้รันโฆษณาดู รันโฆษณา (Amazon Sponsor Ads) เพื่อดูความเป็นไปได้ในการขายจริงๆ
ดู Search result จริงๆ ผ่านหน้าเว็บ Amazon
เมื่อเดือนที่แล้วผมโพสคลิปฝรั่งท่านนึงในกลุ่ม AMZ 2.0 ที่บอกว่า การทำ FBA กับสินค้าแมสมันยากและใช้ทุนสูงเกินไปสำหรับคนทั่วไปแล้ว ส่วนตัวผมเห็นด้วยมากๆ ทางเลือกที่เขาเสนอก็คือ หาสินค้าที่แข่งขันน้อย ใช้ทุนเริ่มต้นไม่สูงนั่นเองอย่างในเคสใบหูกวางนี้ ถ้าจะลองดูต้นทุนในการเทสคร่าวๆ ก็น่าจะอยู่ที่
ใบหูกวาง = ฟรี ค่าแพคเกจ = 300 บาท (ครึ่งโหล – สำเพ็ง) ค่าส่ง = 500 บาท (เช็คเรทค่าจัดส่ง ) เทสด้วยโฆษณา PPC = 2-4000 บาท (ประมาณ๗
คำนวนค่าใช้จ่ายโดยประมาณจากสินค้าที่มีขายอยู่แล้วบน Amazon รวมแบบคร่าวๆ ก็อยู่ในงบประมาณ 5000 บาท สำหรับการเทสสินค้าตัวนี้ครับ
รายละเอียดคร่าวๆ เหล่านี้ น่าจะช่วยให้หลายๆ ท่านนึกภาพตามและมองเห็นโอกาสจากสินค้าหลากหลาย
มีคำถามหรือต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมตรงไหน พิมพ์ไว้ในช่องคอมเม้นด้านล่างได้เลยครับ 😉
Work
ตอนนี้การทำโฆษณา (Amazon Sponsoer ads) มีค่านึงที่กำลังถูกพูดถึงเยอะvโพสนี้ผมจะสรุปให้อ่านกันครับ
แต่เดิมค่าหรือ metric ที่เราสนใจในการทำโฆษณาหลักๆ คือ ACos (ตามรูป)
ACos ตัวแปรสำคัญในการทำโฆษณาบน Amazon สรุปสั้นๆ ค่า ACos บอกเราว่า “ค่าโฆษณาคิดเป็นเท่าไหร่ของยอดขายจากการโฆษณา”
เช่น ถ้า ACos = 20% ก็คือ คุณจ่าย 20บาท เพื่อให้เกิดยอดขาย 100บาท
ACos = Ad spend / Ad Revenue
ดังนั้น ยิ่งค่า ACos น้อย ยิ่งดี – จ่ายโฆษณาน้อยและขายได้มาก
แต่ปัจจุบันการทำโฆษณาใน Amazon หรือ Amazon Sponsor Ads มีอีกค่านึงเข้าเพิ่มเข้ามา และมีประโยชน์กับ Seller มากๆ นั่นก็คือ TAcos
TAcos ค่านี้จะต่างจาก ACos ตรงที่ว่า มันได้รวมยอดขายที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ยอดจากโฆษณา+organic)
TAcos = Ad spend / (Ad Revenue+Organic Revenue)
เขียนมาถึงตรงนี้ หลายท่านที่มีคำถามคาใจมานาน น่าจะเกตว่าเจ้า TAcos มันบ่งบอกอะไร…
ที่ผ่านมา มีคำถามกันว่า การที่สินค้าขายได้ด้วยโฆษณา มันช่วยให้อันดับและยอดขายแบบ organic ดีขึ้นด้วยมั้ย
ตัวเลข TAcos นี่แหล่ะครับ คือคำตอบ
ยกตัวอย่าง สินค้า ASINXXX0338 ตั้งงบโฆษณาต่อวันไว้ที่ วันละ 10usd
เกิดยอดขายที่มาจากตัวโฆษณา 100usd
เกิดยอดขายรวม 150usd
ACos = 10 / 100 = 10%
TAcos = 10 / (100+150) = 4%
วันต่อมา กัดฟัน เพิ่มงบโฆษณาไปอีกเท่าตัว เป็นวันละ 20usd
ยอดขายจากตัวโฆษณา 100usd (เท่าเดิม)
ยอดขายรวม 250usd
ACos = 20 / 100 = 20% (มากขึ้น คือต้นทุนโฆษณาสูงขึ้น)
TAcos = 20 / (100+250) = 5.7%
จากตัวอย่างนี้ การเพิ่มงบโฆษณาส่งผลให้อันดับสินค้าดีขึ้น จึงเกิดยอดขายแบบ organic เข้ามามากขึ้น (แม้ว่ายอดจากโฆษณาจะเท่าเดิม)
สรุป
ถ้าเราเห็นค่า TAcos ลดลงหรือเท่าๆ เดิม แสดงว่าลิสเรามีการไต่อันดับจากการทำโฆษณา (ดีงาม)
ถ้าเราเห็นค่า TAcos เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ สินค้าคุณอันดับไม่ได้ขยับขึ้น
ถ้าเราเห็นค่า ACos ลดลงแต่ TAcos เพิ่มขึ้น คือ สินค้าคุณอันดับเริ่มร่วงแล้ว
ถ้าค่า ACos, TAcos ขึ้นทั้งคู่ เคสนี้ถ้าเกิดในช่วงเริ่มดันสินค้าหรือทำอันดับ ก็รับได้ (จ่ายเพื่อพาลิสขึ้นไป) แต่ถ้าขึ้นไม่หยุด ตัวลิสน่าจะมีปัญหา (ราคาแพงกว่าคู่แข่งหรือรีวิวน้อยกว่า)
**การพิจารณค่าเหล่านี้ ไม่ควรดูวันต่อวัน แนะนำว่าดูรอบสัปดาห์ หรือเดือน จะได้ภาพรวมดีและแม่นกว่า
**ค่า TAcos ดูจากฟังชั่น ADS ในโปรแกรม h10 (ถ้าไม่ใช้ต้องเอาค่า total sales มาคำนวนเอง ผมคิดว่าอเมซอนน่าจะเพิ่มเข้ามาให้เร็วๆ นี้)
อ่านเพิ่มเติม:
Work
เป็นชั่วโมงครึ่งที่ไม่อยากให้คุณพลาด
“พี่หมู” ผู้ก่อตั้ง Officemate ในคลิปนี้มีหลายเรื่องน่าคิดน่าสนใจมาก ทั้งแนวทางและหลักคิด
ผมขอหยิบเฉพาะประเด็นที่พูดถึงแนวทางการทำธุรกิจมาสรุปสั้นๆ
หวังว่าทุกท่านจะได้ฟังเนื้อหาอื่นๆ ในคลิปเต็มด้วยนะครับ
VIDEO
สรุปบทเรียนธุรกิจที่ SMEs ไทยเรียนรู้ได้ พี่หมูแบ่ง Stage ของการทำธุรกิจด้วย “ยอดขาย”
STAGE 1: ยอดขาย 0-200ล้าน สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้คือ
พยายามทำทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง เรียนรู้ทุกขั้นตอนการทำงาน รวมถึงปัญหาและข้อผิดพลาดที่เกิด เนื่องจาก officemate เป็นธุรกิจที่อาจจะไม่ต้องเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “ขายอะไรดี ” เพราะแกขายทุกอย่างที่สำนักงานใช้ ตั้งแต่เครื่องพิมพ์ยันลูกอม !!! พี่หมูลงทุนกับ Big data (ตรงนี้แกไม่ได้พูดในคลิป แต่ผมคิดต่อ) ให้ความสำคัญกับฐานข้อมูลเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า เหมือนกับที่ยักษ์ใหญ่อย่างอเมซอนทำ เมื่อมีข้อมูลจริงๆ ว่าลูกค้าต้องการอะไร ซื้ออะไร ราคาเท่าไหร่ คุณและบริษัทก็มีแต้มต่อ ที่สามารถตัดสินใจได้แม่นยำว่า สินค้าหรือบริการไหน ที่สามารถผลิตและขายเองจะกำไรกว่า ตอบให้ได้ว่า “ลูกค้าซื้อสินค้าจากคุณเพราะอะไร ” จุดนี้สำคัญมากครับ หลายท่านที่ทำธุรกิจ น่าจะคุ้นเคยและจำเป็นต้องคุ้นเคยกับประเด็นนี้ เพราะถ้าคุณไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้คำถามนี้ ก็ไม่สามารถผลักดันจุดนั้นให้โดดเด่นขึ้นมาได้
STAGE 2: ยอดขาย 200-1000ล้าน จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่พี่หมูตัดสินใจ จ้างคนเก่ง มาร่วมทีม
เหตุผลที่พี่หมูอธิบายในคลิปเป็นตรรกะที่น่าสนใจ
ทำไมถึงคิดเรื่องการจ้างตอนที่ยอดขายแตะ 200ล้าน – ไม่ใช่เพราะความรู้สึก แต่อยู่บนพื้นฐานของตัวเลข
คำนวนดูค่าใช้จ่ายของแต่ละตำแหน่ง ด้วยอัตราเงินเดือนที่จะสามารถคัดเลือกคนเก่งๆ เข้ามาร่วมงานได้
พี่หมูให้คำแนะนำว่า ในขั้นตอนนี้เจ้าของธุรกิจต้องเริ่มปรับ mind set ในการทำธุรกิจ
เริ่มคิดเรื่องการบริหาร, การกระจายอำนาจ และการตัดสินใจร่วมกับทีม
STAGE 3: 1000-10000ล้าน ขั้นนี้เป็นการนำบริษัทเข้าร่วมกับกลุ่มทุนที่ใหญ่ ซึ่งพี่หมูไม่ได้ลงในรายละเอียด
สิ่งสำคัญอย่างประการคือทั้ง 3 ขั้นตอน มีสิ่งนึงที่สำคัญที่สุดอยู่อีกอย่าง ก็คือ
การทำบัญชี การให้ความใส่ใจและจริงจังกับข้อมูลที่ได้จากการทำธุรกิจ
จุดนี้หลายคนที่ทำธุรกิจ (รวมทั้งผมเอง) มักมองข้าม
Work
การขายของใน Amazon ปี 2020 และปีต่อๆ นับวันยิ่งเข้มข้น
แค่หยิบสินค้าใกล้ๆ ตัว หรือหาจากเว็บทั่วๆ ไปอย่าง aliexpress, alibaba แล้วมาขายบวกกำไร
ยิ่งดูดุเดือดและยากขึ้นทุกวัน
แต่ “ยาก” ไม่ได้แปลว่า “เป็นไปไม่ได้” ถ้าคุณรู้วิธีการและเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง
(more…) Work
เหนื่อยขึ้นนิดนึง เพื่อโอกาสที่มากกว่า มีเพื่อนในกลุ่มถามเกี่ยวกับโคมไฟ ผมเลยไปทำการบ้านเพิ่มเติม คิดว่าน่าจะเอามาแชร์บางส่วน
แจกรายการสินค้ากว่า 10,000 รายการ นำไปทำกำไรบน Amazon ได้ทันที !!
Share to Download
image/svg+xml คลิก Share ที่ปุ่มด้านล่างนี้
เพื่อรับลิงค์สำหรับดาว์โหลดไฟล์
https://www.dropbox.com/s/6biezbjx9nsivgv/
ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะคุ้นกับ “โคมไฟเชียงใหม่” ที่ขายกันใน Amazon และ eBay
หลายคนเลือกที่ช็อปจากถนนคนเดินมาขายเลย ก็ไม่ผิดครับ แต่ปัญหาที่จะตามมาคือ เพื่อนช่วยขายจะตามมาอย่างรวดเร็ว
แต่ถ้าคุณยอมเหนื่อยเพิ่มขึ้นอีกสักนิด เติมไอเดียอีกหน่อย อาจจะถีบหนีพวกชอบเกาะ และอาจจะเปิดโอกาสสร้างยอดขายเพิ่มได้อีกด้วย ผมขอยกตัวอย่าง โดยประยุคจากสินค้าในรูปนี้
จะเห็นว่าตัวโคมไม่ได้สะท้อน keyword ของมันด้วยซ้ำ (asian table lamp)
Seller ไทยที่ขายโคมเชียวใหม่ลายสวยกว่าเยอะ (ขอไม่ยกตัวอย่าง ไปหาดูเอา)
แต่สิ่งที่ทำให้ลิสนี้มียอดขายกว่าเดือนละห้าแสนบาท ก็น่าจะเพราะตัว fuction ของมันที่ใช้งานได้จริง ที่เห็นๆ เลยก็คือ เสียบมือถือชาร์จไฟได้ แค่นั้น !!!!
ถ้าคุณไปดูใน alibaba แล้วลองค้นคำว่า wood base lamp ก็จะเห็นโรงงานหลายๆ เจ้าที่ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ มีตั้งแต่ฐานที่ให้เสียบ usb ไปจนถึงฐานที่เป็น wireless chager
ผมคิดว่าน่าสนใจนะ ถ้าคุณจะลองทำการบ้านเพิ่ม ถ้าเอาฐานแบบชาร์จไฟได้จากจีน มารวมกับตัวโคมลายสวยๆ ของเชียงใหม่
ขายฟังชั่น อัพราคา ครั้งก่อนผมยกเคสการปรับปรุงสินค้าเพื่อให้แตกต่าง มีเพื่อนบางท่านเกตไอเดียและลองเอาไปต่อยอด นับเป็นความปิติยิ่งนัก
วันนี้ลองดูอีกไอเดียครับ ง่ายๆ เหมือนเดิม
กระเป๋าสานแบบนี้ หลายท่านคงคุ้นกันดี
คนไทยขายเยอะ otop เพียบ jj ก็มากมาย แต่ทุกคนก็วัดกันที่รูปแบบ ความสวยงาม
ช่องเก็บเยอะกว่า แบบสวยก่า ไปจนถึง ราคาฉันถูกกว่า
แต่ถ้าคุณลองไล่ดูเทรนดกระเป๋าแบบนี้ จะเห็นสิ่งนึงที่เป็นเทรน (กระแส) ตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว นั่นคือ anti-thift หรือ RFID protector คือเป็นส่วนที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมข้อมูล
ฟังดูอลังการงานสร้างทรานฟอรมเมอร
แต่จริงๆ ถ้าคุณทำการบ้านเพิ่มอีกสักหน่อย จะรู้ว่า ไอ้เจ้าฟังชั่นชื่อหรูหรา RFID protect หรือ anti-thift เนี่ย มันแค่แผ่นฟรอยแค่นั้นเอง
กระเป๋าง่อยๆ ร้าน 20บาท ก็มี RFID protector ครับ
อย่างที่บอกมันคือ แผ่นฟรอยปลาเผา นี่แล (บางทีพี่โรเบิรตก็ไม่ได้เอาไว้เผาแค่ปลา)
VIDEO
กลับมาที่กระเป๋าสาน otop
แค่คุณใส่แผ่นฟรอยลงไป คุณก็สามารถเพิ่มฟังชั่นอันหรูเริ่ดให้สินค้าคุณได้แล้ว ที่สำคัญ keyword อย่าง anti thrift bag มีคนค้นหาด้วย
และแน่นอน …น้อยคนนักที่จะทำ เพราะแค่โป๊มาขายเลย มันง่ายกว่า
กระเป๋ากระจูด ขายยังไงให้แพง !!?? อาทิตย์ก่อนไปส่งของให้เพื่อนที่ไปรษณีย์ไทย เจอสินค้า OTOP วางขายอยู่
ลองเก็บมาคิดต่อ ด้วยโจทย์เดิม “ขายแบบไหน ต่อยอดยังไงให้ขายอินเตอร์ ?”
กระเป๋าสานวางขายที่ไปรษณีย์ไทย จริงๆ ก็ไม่ยาก เพราะเราสามารถเริ่มต้นด้วยการกวาดตาดูไอเดีย ของสินค้าที่ขายดีอยู่แล้วตาม marketplace ต่างๆ ไม่ว่าจะใน etsy, Amazon หรือในไทยก็เช่น Lazada, Shopee
สะดุดตากับฟังชั่นนึงที่ดูจะเป็นกระแสและได้รับการตอบรับดีเลย นั่นก็คือ ช่องต่อชาร์จไฟ USB
เมื่อได้ไอเดียแล้วลองไปทำการบ้านต่อ โดยการหาราคาต้นทุน
ในเคสนี้ผมก็ดูใน Alibaba เหมือนเคย โดยใช้คำค้นหา usb charging interface ก็พบสินค้าที่ต้องการไม่ยาก และที่สำคัญ ราคาก็ไม่แพง (ชิ้นละไม่กี่บาทเท่านั้น ตามอัพชั่นที่เลือก)
จากตัวอย่างทั้งสามแบบที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง จะเห็นว่า แค่ฟังชั่นที่เพิ่มเข้าไปไม่กี่อย่าง พร้อมกับต้นทุนที่บวกเข้าไปอีกนิดหน่อย ก็ทำให้สินค้าใกล้ๆ ตัว กลายเป็นสินค้าที่มีฟังชั่นการใช้งานแบบสากล (แถมสวยงามแบบไทยๆ) ขึ้นมาทันที
หวังว่าจะเป็นไอเดียให้ทุกท่านนำไปต่อยอดให้กับสินค้าของคุณครับ 😉
Work
จะเรียกว่าเป็นข่าวดีได้มั้ย (ไม่แน่ใจ) แต่ Amazon IP Accelerator Program ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่วางแผนจะจด trademark เพื่อดำเนินการลงทะเบียน Brand registry บนอเมซอน
แต่เดิม การจะได้รับสิทธิของ Brand registry บนอเมซอน ขั้นตอนจะเป็นประมาณนี้
ลิสสินค้า จด trademark (รอประมาณ 8-10เดือน) – มีค่าใช้จ่าย นำ serial number ของ trademark มาดำเนินการ Brand registry กับอเมซอน – ฟรี กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 10เดือน ขึ้นกับว่าขั้นตอนการจด TM ช้าหรือเร็ว เอกสารมีที่ต้องแก้ไขรึเปล่า บลาๆๆ
ในปีนี้ amazon ออกเครื่องมือชื่อ Amazon IP Accelerator Program มาเพื่อช่วย Brand ดังนี้ครับ
หลักการของมันคือ อเมซอนคัดบริษัททนายที่เชี่ยวชาญด้าน trademark, IP มาให้เราเรียบร้อย เราแค่เลือกจากลิส แล้วก็ดำเนินการกับบริษัทนั้น
สิ่งที่แตกต่างคือ ถ้าเราดำเนินการจด Trademark กับบริษัทที่ amazon เลือกมาให้ เมื่อผ่านขั้นตอน approve เอกสาร ทางบริษัทสามารถส่งเรื่องเพื่อเปิดรับสิทธิ Brand registry ให้สินค้าคุณได้เลย เรียกได้ว่า ลัดขั้นตอน ลดเวลาไป เยอะะะะะะะะะะมาก
ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินงาน Brand registry ผ่าน Amazon IP Accelerator Program จะเป็นดังนี้
ลิสสินค้า จด trademark ผ่านบริษัทที่ร่วมโครงการ (ถ้าเอกสารเรียบร้อย ก็ไปขั้นตอน Brand registry ได้เลย) ส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น เราจ่ายให้กับบริษัททนายปกติ โดย amazon ไม่คิดค่าธรรมเนียม (ฟรี) ซึ่งคร่าวๆ สำหรับค่าดำเนินการจะประกอบด้วย
$1800 ค่าแบรนดรีวิว $600 trademark application fee ค่าธรรมเนียมอื่นที่จ่ายให้กับหน่วยงานที่รับจด (ประมาณ $200) ดังนั้น ต้นทุนสำหรับการทำ Brand Registry ในยุค 2020 ก็จะอยู่ที่ราวๆ 2,600usd ครับ
สำหรับคนที่วางแผนจะจดแน่ๆ Amazon IP Accelerator Program น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีมากๆ เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มและลดเวลาไปได้มหาศาลครับ
เลือกบริษัททนายที่ร่วมโครงการ Amazon IP Accelerator Program วิธีการร่วมโครงการ หรือต้องการเช็คเรทราคาชัดๆ ง่ายมากไปที่หน้าเว็บสำหรับร่วมโครงการ
จากนั้นเลือกบริษัทที่เข้าตา แล้วคลิกเพื่อติดต่อได้เลย (login amazon)
Work
เมื่อเดือนที่แล้วมีข่าวลือว่าการสมัครเปิด account กับอเมซอนจะถึงขั้นต้องวีดีโอคอลเพื่อสัมภาษ
ตอนที่ได้อ่านก็ขำๆ จนอัพเดตล่าสุดเกี่ยวกับการสร้างลิสใหม่ ทำให้ข่าวลือเรื่องวีดีโอคอลน่าจะจริง
(more…) Work
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ listing (การลิสสินค้า) บน Amazon
(more…) Work
“ราคาไม่เกิน 30 บาท ”
เป็นโจทย์ที่ผมตั้งไว้ในใจ ตอนที่เดินดูสินค้าใน 7/11 ใกล้บ้าน
จุดมุ่งหมายของภารกิจเช้านี้คือ เลือกสินค้าหนึ่งอย่างใน 7/11 ที่ราคาไม่เกิน 30 บาท
แล้วเอากลับมาลองวิเคราะห์ โอกาสในการนำไปขายบน Amazon
ผมเชื่อว่า ตัวอย่างสินค้าง่ายๆ ใกล้ตัว จะช่วยกระตุ้นไอเดียให้คนที่สนใจ และจริงจังกับการเริ่มต้นขายสินค้าบน Amazon ไม่มากก็น้อยครับ
หลักการเลือกสินค้ามาสร้างแบรนด์ ต้องบอกซ้ำๆย้ำๆ ก่อนว่า ในบทความนี้จุดประสงค์คือ การเลือกสินค้ามาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างแบรนด์ ไม่ได้แค่เลือกสินค้ามาขาย
แนวทางการขายสินค้าแบบปั้นแบรนด์ หรื อ Private Label สามารถพบเห็นได้ใกล้ๆ ตัวครับ
เช่น ถ้าคุณไปเดิน Big C จะเห็นแชมพูยี่ห้อที่ผลิตและขายเองโดย Big C อาจขายที่ราคาเท่ากันหรือถูกกว่าแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาด
นี่คือแนวทางสินค้าที่เราจะเลือกวิเคราะห์กันในบทความนี้
อีกเรื่องสำคัญที่ต้องแจ้งไว้ก่อนก็คือ
ผมจะวิเคราะห์ข้อมูลในด้าน Keyword และโอกาสในการแข่งขันเท่านั้น จะไม่พูดถึงกฏระเบียบของสินค้าที่หยิบยกมาเป็นเคส
หลายครั้งที่ผมยกตัวอย่างสินค้า แล้วมีเพื่อนๆ ส่งคำถามว่า
“สินค้านี้มันจะส่งไปได้เหรอ มันเป็นของเหลวนะ”
“สินค้านี้มันมีส่วนผสมที่เป็นไม้นะ จะไม่ติด pesticide เหรอ”
กฏระเบียบเหล่านี้ผมจะไม่หยิบมาพิจารณาในบทความนี้ครับ เพราะนั่นคือสิ่งที่ Seller ต้องนำไปศึกษาต่อยอดเพิ่มเติม
สินค้าแต่ละหมวดหมู่แต่ละชนิด มีรายละเอียดมีกฏระเบียบมากมาย
บางคนมองกฏเกณฑ์เป็นกำแพง บางคนมองเป็นโอกาส
สรุปสั้นๆ ในบทความนี้เราจะวิเคราะห์หาโอกาสเพื่อสร้างแบรนด์ให้สินค้า ด้วยเกณฑ์หลักๆ 3 ข้อ
Keyword ต้องมีลูกค้นหาและเราแข่งขันได้ ต้นทุนในการเริ่มไม่สูงเกินไป มีช่องทางให้ขยับต่อยอดสินค้าได้ Keyword มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะการขายของใน marketplace อย่าง Amazon, eBay, etsy
กระดาษซับมัน สินค้าตัวนี้มีคนไทยนำไปขายใน Amazon น่าจะหลายคนละ
แค่ลองเอาคำเด่นๆ ที่ตัวสินค้าไปค้นหาบน Amazon ก็เจอ แล้วก็เลือกที่จะสร้างลิสใหม่ ไม่เล่นเกมส์ Buy Box
จุดสำคัญและผมอยากชวนให้คุณตั้งคำถามต่อก็คือ
จริงๆ แล้ว ลูกค้าเขาค้นหาสินค้าด้วยคำนั้น จริงรึเปล่า ?
จากตัวอย่างแรกนี้ เราลองค้นด้วยคำว่า “oil control film”
อเมซอนพบสินค้าประมาณ 125 รายการเท่านั้น
จริงๆ แล้วสินค้าประเภทนี้ ควรจะมีสินค้าที่แสดงออกมามากกว่านี้ เพราะมันคือ สินค้าสามัญ ใครๆ ก็ขาย ใครๆ ก็ผลิต
แล้วเราจะรู้ได้ไงว่า สินค้าแบบนี้ มันควรจะเป็น Keyword อะไร ?
คำถามมี 2 ทางไปสู่คำตอบครับ
ไม่เสียเงิน เสียเงิน เริ่มที่แบบไม่เสียเงิน ด้วยการวิเคราะห์จาก list สินค้าที่ขายดีที่สุดในคำนั้นๆ ครับ
จากเคสนี้ list ที่ดูน่าจะขายดีสุดก็น่าจะเป็นเจ้านี้
(3 รายการแรกไม่นับ เพราะเป็นลิสที่เข้ามาเพราะทำโฆษณา)
หลักง่ายๆ คือ สินค้าที่ประสบความสำเร็จเขาจะทำการ optimize หรือปรับปรุงให้ได้ผลลัพธ์ที่สุด เราแค่เรียนรู้จากสิ่งที่เขาได้ทิ้งร่องรอยไว้
ที่ขีดเส้นไว้ คือคำที่ “ผมเดา” ว่าน่าจะเป็น Keyword หลักๆ ของสินค้าตัวนี้
นี่คือวิธีที่ไม่ต้องเสียเงินครับ จ่ายแค่เวลากับประสบการณ์
อีกวิธีคือจ่ายเงิน ให้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์
JungleScout เป็นโปรแกรมสำหรับคนขายของใน Amazon ที่ผมหยิบมาสาธิตวิธีการใช้งาน และพูดถึงบ่อย
หนึ่งในความสามารถของมันก็คือการ reverse engineer เพื่อดูว่าสินค้านั้นๆ มี Keyword อะไรที่เกี่ยวข้องกับมันบ้าง
วิธีการง่ายๆ ก็แค่เอา ASIN ของสินค้า ไปใส่ในช่องค้นหา (Search) ตามรูป
เราก็จะได้ชุด Keyword ที่ระบบตรวจสอบได้จากลิสสินค้า
หน้าที่จากนี้ของเราก็คือ “วิเคราะห์”
ตัดคำที่ไม่ใช่ และหาคำที่เรามีโอกาส
ผมติ๊กเลือก keyword ที่ “ตรง” กับสินค้าจริงๆ และมีปริมาณค้นหาต่อเดือน (30-Day Search Volume (Exact)) เกิน 500
เพื่อสร้างชุด Keyword List ให้สินค้าตัวนี้
ผมเลือกให้ความสนใจ 3 คอลัมม์
Search Volume ปริมาณการค้นหา ยิ่งมากยิ่งดี แต่มากก็อาจจะคู่แข่งมากตามไปด้วย PPC Bid ราคา (ประมาณ) ค่าโฆษณาต่อคลิก ยิ่งค่านี้สูง ก็หมายความว่า คำนั้นมีการแข่งขันสูง (เกิน 1 usd สำหรับผมจัดว่าหนัก) Ease to Rank ค่านี้แค่ช่วยให้เราเห็นภาพกว้างๆ ว่าในคำนี้ โอกาสที่เราจะทำอันดับดีๆ ยากหรือง่ายแค่ไหน (100 คือง่ายมาก) ขั้นตอนต่อจากนี้ เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา โดยการที่ไล่ดูทีละ keyword บนหน้าเว็บ Amazon จริงๆ ว่า หน้าตาคู่แข่งและสภาพการแข่งขันเป็นอย่างไรบ้าง
จะว่าไปก็คล้ายๆ การประกวดนางงามเหมือนกันครับ รอบแรกๆ ก็ประเมินจากข้อมูล จากนั้นต้องนั่งวิเคราะห์จากสนามจริง
จากรูปด้านบน ผมเริ่มที่ keyword ที่มีปริมาณการค้นหามากที่สุด “blotting paper”
พบว่า มีปริมาณคู่แข่งแค่ 150 รายการ
มีลิสที่ซื้อโฆษณา (Amazon Sponsor Ads) แค่ 1 (ไม่นับ Header ads)
และที่สำคัญ
ลิสที่มีจำนวนรีวิวไม่มาก (หลักหน่วย หลักสิบ) สามารถทำอันดับได้ดี
ประเมินได้ว่า keyword คำนี้ยังมีพื้นที่มีโอกาสให้กับลิสสินค้าใหม่ๆ อยู่
มีบาง keyword ที่พอคลิกไปดูผลการค้นหาบน Amazon พบว่าไม่ตรงกับสินค้า ก็จะตัดคำนี้ออกจากลิส
อย่างที่บอกครับ ขั้นตอนสุดท้ายนี้ อาจใช้เวลานานหน่อย
แต่การคลุกอยู่กับ keyword และสินค้านานก็ยิ่งทำให้คุณเข้าใจตลาดและเห็นคู่แข่งมากยิ่งขึ้น
ประเมินเป็นเกณฑ์คะแนน 7/10
เหตุผลที่ต้องหักคะแนนออกเพราะ สินค้ามีราคาขายเฉลี่ยต่ำไปหน่อย เมื่อเอาค่าใช้จ่ายต่างๆ มาคิดแล้ว ส่วนต่างเหลือน้อยไปนิด
โปรแกรม JS ถ้าสินค้าตัวไหนทำ FBA ให้คุณคลิกที่ตัวเลข Net
ระบบจะแสดงรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่างๆ ออกมา
ถ้าคุณรู้ราคาต้นทุนสินค้า (ค่าของ+ค่าส่ง) ก็สามารถประเมินกำไรต่อออเดอร์ได้ทันที
ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจจะประเมินคู่กับต้นทุนสินค้าด้วย
แนวทางต่อจากนี้ ผมอาจจะลองซื้อสินค้าจาก 7/11 ชิ้นนี้ส่งไป FBA เพื่อทดสอบ keyword ด้วย Sponsor Ads
ถ้าผลการทดสอบเกิดเป็นยอดขาย หรือมีค่าต่างๆ ที่น่าพอใจ ก็อาจจะขยับไปสั่งผลิตในแบรนด์ของผมเอง แล้วเริ่มทำตลาดและดันอันดับใน keyword ที่ได้วิเคราะห์ไว้
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผมคือ บางคนเห็นโอกาสในการต่อยอดสินค้า แม้จะไม่ใช่สินค้าเหล่านี้ แต่พอจะเห็นแนวทางในการเริ่มต้น
ในขณะที่หลายคนพบเหมือนจะเห็นแต่อุปสรรค และมองว่าสินค้าตัวนี้ไม่น่าจะขายได้
อะไรทำให้เราคิดต่างกัน ?
สำหรับการเลือกสินค้าและการมองสินค้าสักชิ้น ผมคิดว่า ประสบการณ์ที่ผ่านมาของแต่ละคนน่าจะมีส่วนอย่างมาก
คนที่เคยขายหรือคลุกอยู่กับการขายสินค้าออนไลน์ ประสบการณ์ช่วยให้เขามองเห็นโอกาส และเขี่ยวให้เขารู้ว่าอะไรไม่จำเป็นต้องเสี่ยง
คนที่เห็นแต่อุปสรรคและความเป็นไปไม่ได้ ถ้าอยากคิดในมุมกลับ ต้องลองเปิดใจให้พื้นที่กับความผิดพลาด
ใช้เวลากับพื้นที่ที่เราจะเข้าไปขายสินค้า
ความสำเร็จแบบฉีกซอง เติมน้ำ แล้วรอสามนาที ไม่มีอยู่จริง – จำเป็นที่เราต้องลองทั้งผิดและถูก
คุณคิดว่าไงครับ ?
Work
ความยากลำบากในการเปิด Seller Account กับ Amazon ทำให้ราคาของ account เปล่าๆ (ไม่มีสินค้า) ขยับตัวสุงขึ้น
บทความนี้ผมจะบอกข้อมูล และแจกแจงขั้นตอนการขาย Amazon seller account จากประสบการณ์ตรงอย่างละเอียดครับ
(more…) Work
เหตุที่ผมคิดว่า Brian Lee แกเป็นหนึ่งในคนที่เปลี่ยนวิธีคิดในเรื่องการขายของออนไลน์ด้วยเหตุผลบางประการ
(more…) Work
FAQ Amazon Seller พื้นที่รวบรวมคำถามที่เพื่อนๆ ส่งมา และตอบในมุมมองของผม เป็นการแชร์ไอเดียและแบ่งปันประสบการณ์กันครับ
(more…) Work
เดือนนี้ผมมีโอกาสได้ทดลองอะไรหลายอย่าง ชวนให้นึกถึงตอนขายของออนไลน์ใหม่ๆ ถ้าไม่เอาเงินเป็นตัวตั้ง ผมว่าตอนเริ่มนี่สนุกสุดนะ แต่ในความเป็นจริง มันก็หนีเรื่องเงินไม่พ้น
(more…) Work
แนวทางแบบ “ซื้อมาขายไป” น่าจะเป็นอะไรที่ง่ายและเริ่มต้นได้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการขายของออนไลน์ หรือขายออฟไลน์
จุดเด่นหรือข้อดีของแนวทางนี้คือ ง่าย, เริ่มต้นได้เร็ว แต่มันก็มีข้อเสียอยู่ไม่น้อย
ก่อนที่จะเริ่มต้น ผมแนะนำให้ดูคลิปสั้นๆ นี้ก่อนครับ
แล้วลองนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณดู
ในไฟล์ excel นี้ ผมรวบรวมรายการสินค้า 300 รายการที่คุณสามารถเรียนรู้และช่วยให้การเริ่มต้นขายของบน Amazon ง่ายขึ้น
Share to Download
image/svg+xml คลิก Share ที่ปุ่มด้านล่างนี้
เพื่อรับลิงค์สำหรับดาว์โหลดไฟล์
Work
Amazon ส่งอีเมล์แจ้ง seller ถึงกฏระเบียบเกี่ยวกับ “รูปภาพ” ในเดือนกันยา (2018) นี้
ลิสที่รูปผิดระเบียบจะมีการ “แบนลิส” รายละเอียดอ่านได้จากบทความนี้ครับ
(more…) Work
อีบุคเล่มนี้เขียนจากข้อมูลที่เขาไปสำรวจสินค้า Top sell 3000 รายการ ที่ขายดีบน Amazon จาก 31 หมวดหมู่
เพื่อจะดูว่า listing เหล่านี้มีอะไรที่เราสามารถเรียนรู้ และเอามาปรับใช้ได้จริงบ้าง
#ของโคตรดี แจกฟรีได้ไง !!??
Title ควรมีความยาว 40-80 ตัวอักษร วาง keyword ที่โฟกัสที่ต้นๆ ของ title และเทคนิคอื่นอีกเพียบ Share to Download
image/svg+xml คลิก Share ที่ปุ่มด้านล่างนี้
เพื่อรับลิงค์สำหรับดาว์โหลดไฟล์
Work
**บทความนี้เขียนและเผยแพร่ในกลุ่ม AMZ ตั้งแต่ปี 2016 เนื้อหาบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันไปพอสมควร ทั้งเทคนิคและวิธีการ
(more…)