Cynthia Stine

Brand ที่ห้ามขายบน Amazon

จริงๆ มันเป็นเรื่องต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว เริ่มต้นจากบทความหนึ่งที่เขียนโดยคุณป้า Cynthia Stine

ทำไมเหล่านักขายของบน Amazon ต้องฟังป้าแก ?

เพราะป้าแกเชี่ยวชาญมาก …มากขนาดที่ว่าเปิดบริการรับแก้เคสโดนอเมซอนแบน

เวลาป้าแกออกมาเตือน จึงมีความเป็นไปได้สูง

ป้า Cynthia ผู้นำสารจากอเมซอนสู่มวลมนุษยชาติ

ผมขอสรุปใจความตามที่เข้าใจ (ถ้าใครอ่านเต็มๆ แล้วมีตรงไหนที่ผมเข้าใจผิด ก็ช่วยแก้ไขเพิ่มเติมได้นะครับ)

อเมซอนจะเริ่มให้ความสำคัญกับผู้ขายที่ “หาของมาขาย” น้อยลง

เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา amazon เริ่มเจอปัญหามากขึ้นและส่งผลกับภาพลักษณ์ของอเมซอน

ปัญหาที่ว่าคือ ผู้ขาย (seller) ลิสสินค้าไว้อย่างนึง แต่ส่งอีกอย่างนึง, สินค้ามีปัญหา, ลูกค้าได้รับของช้า

เป็นที่มาของมาตรการเรียกดูใบ Invoice ดังนั้น ใครที่ Drop สินค้าแบรนด์ดัง ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับการตรวจสอบลิสที่ตัวเองขายอยู่มากขึ้น

แน่นอนว่ามันมีรายละเอียดมากกว่านั้น เช่น เจ้าของแบรนด์บางเจ้ามีสิทธิที่จะไม่ให้ขาย

บางเจ้าต้องจ่ายก่อนถึงจะเอาไปขายได้ ซึ่งเจ้าไหนยังไง คงต้องไปถามกันเอง (Some brands also require a fee ranging from $500-$5000 in order to sell)

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลโดยตรงกับคนที่รับของแบรนดมาขาย (ถ้าบังเอิญว่าแบรนดนั้นจำกัดสิทธิในการนำไปขายต่อ)

แม้ว่ามันจะยังไม่กระทบทุกคน แต่ก็มีเค้ารางว่าจะไม่ง่ายเหมือนเดิมอีกต่อไป

โปรดอย่าเข้าใจผิดว่า การขอ Approve เพื่อขายในหมวดหมู่ต่างๆ ผ่านแล้ว คุณจะสามารถขายอะไรในหมวดหมู่นั้นๆ ก็ได้นะจ๊ะ

แต่จากเหตุการณ์นี้ก็มีผลกระทบด้านดีสำหรับคนที่มีแบรนดสินค้าเป็นของตัวเองเช่นกัน

เพราะดูเหมือนอเมซอนจะเริ่มให้น้ำหนักในการร้องเรียนเรื่องของการป้องกันคู่แข่งเข้ามาเกาะลิส (Sell your) มากขึ้น

แล้วจะรู้ได้ไงว่า อะไรขายได้ อะไรขายแล้วเสี่ยง ??

มี 2 วิธีที่ทำได้ง่ายๆ ครับ

  1. เปิดเคสถาม Amazon Support เลย
  2. ใช้ Amazon Seller app เวลาที่เราเพิ่มสินค้าผ่านแอพนี้ จะด้วยการ scan barcode หรือ sell your ก็แล้วแต่ จะมีข้อความเตือนว่าอะไรที่เราสามารถขายได้ เช่น สินค้าบางแบรนด์ให้สิทธิผู้ขายอย่างเราๆ ขายได้แต่สินค้าที่ใช้แล้ว (used) แต่จะขายแบบแกะกล่อง (new) ไม่ได้
amazon-seller-app-check

ถึงจะมีข้อกำหนดหรือมาตรการต่างๆ มากมาย

แต่สำหรับผม อเมซอนก็ยังเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นและเรียนรู้ e-commerce ในตลาดต่างประเทศอยู่ดีครับ

P.S. เรื่องถึงหูสำนักข่าว Bloomberg เรียบร้อย

ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องของแบรนด์แล้ว โพสนี้ผมขอเอารายการยี่ห้อสินค้าต่างๆ ที่ผู้ขายอย่างเราควรหลีกเลี่ยง

เนื่องจากสินค้าเหล่านี้เป็น Restricted Brand บน amazon

ตัวอย่างการขอสิทธิในการจำหน่ายสินค้าแบรนด์ Samsung บน Amazon ต้องใช้เอกสาร invoice เพื่อยืนยันการซื้อ พร้อมทั้งวางเงิน 1,000usd

samsung Amazon Restricted

**จากตาราง ด้านซ้ายจะเป็นรายชื่อแบรนด์ และด้านขวาจะเป็นหมายเหตุของแต่ละแบรนด์นะครับ

รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายที่ update: 4/01/2019


Comments

2 responses to “Brand ที่ห้ามขายบน Amazon”

  1. Kwan Avatar
    Kwan

    Good

  2. ขอบคุณมากคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *